เก้าอี้นั่งทำงาน
07มี.ค.

เก้าอี้นั่งทำงาน

เก้าอี้นั่งทำงาน – เก้าอี้ที่ถูกออกแบบตามหลักสรีระศาสตร์ของมนุษย์ มีการออกแบบที่เอื้ออำนวยและคำนึงถึงการรักษาสภาพของท่านั่งให้เหมาะสมกับลักษณะของร่างกายที่แตกต่างกัน เพื่อลดปัญหาการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อจากการนั่งเป็นระยะเวลานาน ๆ เก้าอี้นั่งทำงาน ถูกออกแบบมาใช้กับผู้ที่ต้องทำงานโดยการนั่งนาน ๆ ซึ่งก็คือคนทำงานในสำนักงานจึงมักเรียกว่า “Ergonomic Office Chair & Ergonomic Work Chair”

7 ข้อดีของ เก้าอี้ทำงานเพื่อสุขภาพ

1. มีพื้นที่รองรับศีรษะ 

โดยทั่วไปเก้าอี้สำนักงานหรือเก้าอี้ในออฟฟิศมักจะมีไม่มีพนักพิงศีรษะ ซึ่งเวลานั่งทำงานไปนาน ๆ กล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ ของเราอาจจะเกร็งขึ้นมาโดยไม่รู้ตัว อาจเกิดจากท่านั่งที่ไม่เหมาะสมหรือความเครียดจากการทำงาน ถ้าเราเลือกเก้าอี้ที่มีพนักพิงศีรษะก็จะสามารถช่วยซัพพอร์ตกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ เพื่อลดการทำงานของกล้ามเนื้อได้ และเมื่อกล้ามเนื้อไม่เกร็งก็จะลดอาการปวดที่อาจเกิดตามมาได้นั่นเอง

 

2. มีพื้นที่รองรับหลัง ทั้งตอนทำงานและตอนนั่งพัก

เก้าอี้ทั่วไปจะไม่สามารถปรับเอนองศาของพนักพิงได้ และพนักพิงหลังค่อนข้างไม่ครอบคลุมหลังแต่เก้าอี้ เพื่อสุขภาพ มีการออกแบบมาให้ปรับมุมองศาได้เพื่อช่วยซัพพอร์ตหลังให้ได้มุมที่เหมาะกับช่วงเวลาในการทำงานและช่วงเวลาพัก ซึ่งช่วงเวลาของการทำงานก็ควรปรับให้หลังตั้งตรง หรือให้อยู่ในแนวที่เหมาะสม ประมาณองศาที่ 90-100 ซึ่งเป็นท่าที่ทำให้หลังตรง ลดการเกิดท่าที่ไม่ถูกต้องอย่างหลังค่อม ไหล่ห่อ ได้ และเมื่อต้องการพักก็สามารถปรับเอนพนักพิงหลังให้เอนนอนได้ ก็สามารถเป็นช่วงผ่อนคลายของกล้ามเนื้อหลังไปในตัวได้เลย

 

3. มีที่รองรับแขนและมือ 

ที่รองรับแขนหรือที่วางแขนก็จะเป็นอีกหนึ่่งจุดสำคัญของเก้าอี้ที่ดีเลยก็ว่าได้ เพราะที่วางแขนจะช่วยซัพพอร์ตแขนและมือไม่ให้ไหล่ยกเกร็ง ถ้าเกิดไม่มีที่วางแขน อาจทำให้บ่าและไหล่ต้องเกร็งอยู่ตลอดเวลาเนื่องจากไม่มีอะไรมาซัพพอ์รต ซึ่งเก้าอี้ Ergonomics มีฟังก์ที่เพิ่มขึ้นมาคือการปรับระดับความสูงต่ำของที่วางแขนได้ด้วย และยังปรับความกว้าง หรือเอียงเพื่อรองรับแขนได้หลากหลายมุมเลยทีเดียว ซึ่งระดับที่เหมาะสมของแขนและมือก็คือ ควรวางให้เสมอหรือเทียบเท่ากับเมาส์และแป้นพิมพ์ และมุมข้อศอกควรอยู่ที่ประมาณ 90-120 องศา ซึ่งเป็นตัวเลขที่แนะนำของท่าท่าที่ถูกต้องในการทำงานจากการนั่งทำงานเป็นระยะเวลานาน ๆ ได้อีกด้วย

 

4. ตำแหน่งของเบาะที่พอดีกับช่วงขา

ความลึกของเบาะก็เป็นอีกหนึ่งตำแหน่งที่ทำให้การนั่งของเราสบายมากขึ้น ซึ่งต้องบอกเลยว่าเก้าอี้ทั่วไปไม่สามรถปรับเลื่อนเบาะได้อย่างแน่นอน แต่เก้าอี้เพื่อสุขภาพก็ได้ปรับให้เบาะสามารถเลื่อนเข้าออกได้เพื่อรองรับกับช่วงขาและสามารถรองรับกับก้นของเราได้อย่างพอดี ซึ่งถ้าคนตัวสูงก็สามารถปรับเลื่อนเบาะของออกมาเพื่อเพิ่มพื้นที่ในการนั่งและรองรับกับช่วงขาได้อย่างเหมาะสม และป้องกันไม่ให้เกิดการกดทับของใต้ข้อพับเข่าได้อีกด้วย

 

5. การปรับความสูงต่ำ เพื่อรองรับสรีระในการนั่ง

เก้าอี้เพื่อสุขภาพ จะถูกออกแบบมาให้มีการปรับขึ้นลงของเก้าอี้ได้ซึ่งเป็นฟังก์ชันที่ทำให้ตัวเราสามารถอยู่ระดับเดียวกับโต๊ะทำงาน ก็จะช่วยลดอาการเกร็งบ่าไหล่ได้ และสามารถปรับให้เท้าวางราบกับพื้นได้ ซึ่งท่าในการนั่งทำงานก็ควรจะวางเท้าให้ราบกับพื้น หากเท้าลอยจะเป็นการกดทับใตเข้อพับเข่าซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวดขา ขาชาหรือเป็นตระคิวได้นั่นเอง

 

6. มี 5 ล้อ เพื่อเสริมความมั่นคงในการนั่ง

เก้าอี้ที่ดีก็ต้องมีความมั่นคงในการนั่ง โดยการสร้างความมั่นคงให้กับเก้าอี้ที่ดีคือมีล้อเลื่อน 5 ล้อด้วยกัน จะทำให้การนั่งสมดุลมากขึ้น และสามารถเป็นที่วางเท้าสำหรับคนที่ตัวเล็กได้อีกด้วย

 

7. ส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดท่านั่งที่ถูกต้องขณะทำงาน

เก้าอี้ที่ดีย่อมส่งเสริมให้การนั่งของเราที่ดีขึ้นได้อย่างแน่นอน เพราะร่างกายของเราจะได้รับการซัพพอร์ตที่ตรงจุดได้มากขึ้น สามารถปรับให้เข้ากับร่างกายเราได้ เป็นการกระตุ้นให้เรานั่งทำงานได้ถูกท่ามากขึ้น และยังทำให้เกิดความสบายขณะนั่งทำงานได้อีกด้วย อีกทั้งยังสามารถช่วยลดอาการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดขึ้น

 

เมื่อเราต้องนั่งทำงานนาน ๆ อาจะทำให้เสี่ยงเป็น ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome)

      ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) คือ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด รวมถึงอาการปวดหรือชาจากอาการอักเสบจากเนื้อเยื่อและเอ็น มักเกิดขึ้นกับกลุ่มวัยทำงานที่ต้องนั่งทำงานในออฟฟิศหรือทำงานโดยใช้คอมพิวเตอร์และมือถือเป็นประจำ

ออฟฟิศซินโดรม มักเกิดจากการใช้งานกล้ามเนื้อมัดเดิม ๆ ซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน ไม่ค่อยได้เปลี่ยนท่าทาง รวมถึงอิริยาบถที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งไขว่ห้างเป็นประจำ การนั่งตัวงอ หรือการก้มหน้านาน ๆ เป็นต้น ทำให้กล้ามเนื้อที่ถูกใช้งานซ้ำ ๆ มีการหดเกร็ง หรือยืดค้างในรูปแบบเดิมบ่อย ๆ จนกล้ามเนื้อมัดนั้น ๆ เกิดการบาดเจ็บ หรืออาจขมวดเป็นก้อนตึง และเกิดอาการปวดตามมา

กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ในร่างกายของเรามีลักษณะเป็นเส้นใยร้อยโยงต่อเนื่องกันหลายส่วน เมื่อกล้ามเนื้อเริ่มมีการขมวดกันเป็นปมขึ้น ก็ดึงรั้งกันไปมา ตอนแรกอาการปวดตึงอาจจะเริ่มจากจุดหนึ่ง แต่พอนานวันเข้าก็จะร้าวไปปวดอีกจุดหนึ่ง เพราะถูกดึงรั้งจากกล้ามเนื้อส่วนที่หดเกร็ง รู้ตัวอีกทีก็จะปวดเป็นบริเวณกว้าง ๆ ระบุหาตำแหน่งที่ปวดจริง ๆ ไม่ได้เลย

ธรรมชาติของคนทำงานประจำในยุคนี้ มักจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานได้ยาก เพราะต้องโฟกัสกับงานที่ทำ หรือยุ่งจนลืมปรับเปลี่ยนท่าทางและหยุดพัก บ่อยครั้งจึงปล่อยให้อาการของโรคนี้มีอาการหนักมากขึ้น หรือลุกลามไปยังกล้ามเนื้อและระบบประสาทส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกัน

หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา หรือไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ก็อาจก่อให้เกิดอันตรายตามมา เช่น เสี่ยงต่อการเกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังคด และแขนขาอ่อนแรงอีกด้วย

อาการออฟฟิศซินโดรม ที่พบได้บ่อยดังนี้

1. ปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด: เป็นกลุ่มอาการยอดฮิตของออฟฟิศซินโดรม โดยจะเริ่มจากมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ สะบัก ส่วนหลัง และสะโพก และมักจะเป็นเรื้อรังไม่หายขาด

2. เส้นประสาทที่ข้อมือถูกกดทับ: เกิดขึ้นจากมีพังผืดบริเวณข้อมือ (ด้านฝ่ามือ) ทำให้เส้นประสาทบริเวณนั้นถูกกดทับ เกิดอาการปวดและชาที่นิ้วมือ ฝ่ามือ หรือแขน

3. นิ้วล็อค: เกิดจากการออกแรงที่นิ้วมือมาก ๆ และบ่อยครั้ง  ทำให้เกิดการเสียดสีจนอักเสบบริเวณปลอกหุ้มเอ็น และเส้นเอ็นของนิ้วมือ มักพบอาการนี้ในกลุ่มคนที่ทำงานเป็นแม่บ้าน

4. เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ: เกิดการบวมหรือเจ็บที่บริเวณเอ็นกล้ามเนื้อ มักเป็นบริเวณหัวไหล่ ข้อศอก ข้อเท้า เข่า และข้อมือ ซึ่งมักเกิดจากอุบัติเหตุ การกระแทก การใช้งานรุนแรง หรือการใช้งานที่บ่อยครั้งเกินไป ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดบริเวณที่มีอาการ

 

ใครมีโอกาสเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมได้บ้าง

อาการออฟฟิศซินโดรม อาจพบได้ทั้งในคนทำงานแบบใช้แรงเป็นประจำ และคนที่นั่งทำงานในออฟฟิศ เนื่องจากทั้งสองกลุ่มมีโอกาสที่จะทำใช้กล้ามเนื้อในรูปแบบซ้ำ ๆ เป็นประจำ

คนทำงานในออฟฟิศ แม้ว่าคนกลุ่มนี้จะแทบไม่ได้เคลื่อนไหวอะไรเลย จนดูเหมือนว่าจะไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อ แต่การนั่ง ยืน หรือค้างอยู่ในท่า ๆ หนึ่งนานเกินไป เช่น การก้มหน้าใช้งานมือถือก็ส่งผลให้กล้ามเนื้อมัดที่ใช้ในอิริยาบถนั้น ๆ บ่อย ๆ เกิดอาการตึงและปวดตามมาได้

กรณีของผู้ใช้แรงงานเป็นประจำ หรือกลุ่มนักกีฬา อาการทางกล้ามเนื้อหรือกระดูกอาจจะมาจากการเคลื่อนไหวที่ไม่เหมาะสม เช่น การยกของผิดท่า การกระชากกล้ามเนื้อเร็วเกินไปการออกแรงมากเกินไปหรือต้องแบกของที่มีน้ำหนักมากเกินไป เป็นต้น ทำให้กล้ามเนื้อหรือกระดูกได้รับบาดเจ็บอย่างเฉียบพลันหรือเรื้อรัง

 

แนวทางการสังเกตอาการโรคออฟฟิศซินโดรมด้วยตัวเอง

ลักษณะของอาการออฟฟิศซินโดรม สังเกตได้จากอาการปวดที่มีลักษณะเรื้อรัง โดยอาจจะเริ่มจากปวดเบา ๆ ไปจนถึงปวดมาก หรืออาการปวดล้า และปวดร้าวไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เป็นๆ หายๆ หรือมีอาการเป็นประจำ ซึ่งอาการปวดเหล่านี้ สามารถเกิดได้หลายส่วนในร่างกาย ได้แก่

  • บริเวณส่วนบนของร่างกาย เช่น หัว ดวงตา ท้ายทอย คอ ไหล่ สะบัก นิ้วมือ ข้อมือ ข้อศอก
  • บริเวณส่วนหลัง
  • ส่วนล่างของร่างกาย เช่น สะโพก ต้นขา เข่า ข้อเท้า

 

กลับสู่หน้าหลัก – savecyber