เก้าอี้นั่งทำงาน

เก้าอี้นั่งทำงาน – เก้าอี้ที่ถูกออกแบบตามหลักสรีระศาสตร์ของมนุษย์ มีการออกแบบที่เอื้ออำนวยและคำนึงถึงการรักษาสภาพของท่านั่งให้เหมาะสมกับลักษณะของร่างกายที่แตกต่างกัน เพื่อลดปัญหาการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อจากการนั่งเป็นระยะเวลานาน ๆ เก้าอี้นั่งทำงาน ถูกออกแบบมาใช้กับผู้ที่ต้องทำงานโดยการนั่งนาน ๆ ซึ่งก็คือคนทำงานในสำนักงานจึงมักเรียกว่า “Ergonomic Office Chair & Ergonomic Work Chair”

7 ข้อดีของ เก้าอี้ทำงานเพื่อสุขภาพ

1. มีพื้นที่รองรับศีรษะ 

โดยทั่วไปเก้าอี้สำนักงานหรือเก้าอี้ในออฟฟิศมักจะมีไม่มีพนักพิงศีรษะ ซึ่งเวลานั่งทำงานไปนาน ๆ กล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ ของเราอาจจะเกร็งขึ้นมาโดยไม่รู้ตัว อาจเกิดจากท่านั่งที่ไม่เหมาะสมหรือความเครียดจากการทำงาน ถ้าเราเลือกเก้าอี้ที่มีพนักพิงศีรษะก็จะสามารถช่วยซัพพอร์ตกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ เพื่อลดการทำงานของกล้ามเนื้อได้ และเมื่อกล้ามเนื้อไม่เกร็งก็จะลดอาการปวดที่อาจเกิดตามมาได้นั่นเอง

 

2. มีพื้นที่รองรับหลัง ทั้งตอนทำงานและตอนนั่งพัก

เก้าอี้ทั่วไปจะไม่สามารถปรับเอนองศาของพนักพิงได้ และพนักพิงหลังค่อนข้างไม่ครอบคลุมหลังแต่เก้าอี้ เพื่อสุขภาพ มีการออกแบบมาให้ปรับมุมองศาได้เพื่อช่วยซัพพอร์ตหลังให้ได้มุมที่เหมาะกับช่วงเวลาในการทำงานและช่วงเวลาพัก ซึ่งช่วงเวลาของการทำงานก็ควรปรับให้หลังตั้งตรง หรือให้อยู่ในแนวที่เหมาะสม ประมาณองศาที่ 90-100 ซึ่งเป็นท่าที่ทำให้หลังตรง ลดการเกิดท่าที่ไม่ถูกต้องอย่างหลังค่อม ไหล่ห่อ ได้ และเมื่อต้องการพักก็สามารถปรับเอนพนักพิงหลังให้เอนนอนได้ ก็สามารถเป็นช่วงผ่อนคลายของกล้ามเนื้อหลังไปในตัวได้เลย

 

3. มีที่รองรับแขนและมือ 

ที่รองรับแขนหรือที่วางแขนก็จะเป็นอีกหนึ่่งจุดสำคัญของเก้าอี้ที่ดีเลยก็ว่าได้ เพราะที่วางแขนจะช่วยซัพพอร์ตแขนและมือไม่ให้ไหล่ยกเกร็ง ถ้าเกิดไม่มีที่วางแขน อาจทำให้บ่าและไหล่ต้องเกร็งอยู่ตลอดเวลาเนื่องจากไม่มีอะไรมาซัพพอ์รต ซึ่งเก้าอี้ Ergonomics มีฟังก์ที่เพิ่มขึ้นมาคือการปรับระดับความสูงต่ำของที่วางแขนได้ด้วย และยังปรับความกว้าง หรือเอียงเพื่อรองรับแขนได้หลากหลายมุมเลยทีเดียว ซึ่งระดับที่เหมาะสมของแขนและมือก็คือ ควรวางให้เสมอหรือเทียบเท่ากับเมาส์และแป้นพิมพ์ และมุมข้อศอกควรอยู่ที่ประมาณ 90-120 องศา ซึ่งเป็นตัวเลขที่แนะนำของท่าท่าที่ถูกต้องในการทำงานจากการนั่งทำงานเป็นระยะเวลานาน ๆ ได้อีกด้วย

 

4. ตำแหน่งของเบาะที่พอดีกับช่วงขา

ความลึกของเบาะก็เป็นอีกหนึ่งตำแหน่งที่ทำให้การนั่งของเราสบายมากขึ้น ซึ่งต้องบอกเลยว่าเก้าอี้ทั่วไปไม่สามรถปรับเลื่อนเบาะได้อย่างแน่นอน แต่เก้าอี้เพื่อสุขภาพก็ได้ปรับให้เบาะสามารถเลื่อนเข้าออกได้เพื่อรองรับกับช่วงขาและสามารถรองรับกับก้นของเราได้อย่างพอดี ซึ่งถ้าคนตัวสูงก็สามารถปรับเลื่อนเบาะของออกมาเพื่อเพิ่มพื้นที่ในการนั่งและรองรับกับช่วงขาได้อย่างเหมาะสม และป้องกันไม่ให้เกิดการกดทับของใต้ข้อพับเข่าได้อีกด้วย

 

5. การปรับความสูงต่ำ เพื่อรองรับสรีระในการนั่ง

เก้าอี้เพื่อสุขภาพ จะถูกออกแบบมาให้มีการปรับขึ้นลงของเก้าอี้ได้ซึ่งเป็นฟังก์ชันที่ทำให้ตัวเราสามารถอยู่ระดับเดียวกับโต๊ะทำงาน ก็จะช่วยลดอาการเกร็งบ่าไหล่ได้ และสามารถปรับให้เท้าวางราบกับพื้นได้ ซึ่งท่าในการนั่งทำงานก็ควรจะวางเท้าให้ราบกับพื้น หากเท้าลอยจะเป็นการกดทับใตเข้อพับเข่าซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวดขา ขาชาหรือเป็นตระคิวได้นั่นเอง

 

6. มี 5 ล้อ เพื่อเสริมความมั่นคงในการนั่ง

เก้าอี้ที่ดีก็ต้องมีความมั่นคงในการนั่ง โดยการสร้างความมั่นคงให้กับเก้าอี้ที่ดีคือมีล้อเลื่อน 5 ล้อด้วยกัน จะทำให้การนั่งสมดุลมากขึ้น และสามารถเป็นที่วางเท้าสำหรับคนที่ตัวเล็กได้อีกด้วย

 

7. ส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดท่านั่งที่ถูกต้องขณะทำงาน

เก้าอี้ที่ดีย่อมส่งเสริมให้การนั่งของเราที่ดีขึ้นได้อย่างแน่นอน เพราะร่างกายของเราจะได้รับการซัพพอร์ตที่ตรงจุดได้มากขึ้น สามารถปรับให้เข้ากับร่างกายเราได้ เป็นการกระตุ้นให้เรานั่งทำงานได้ถูกท่ามากขึ้น และยังทำให้เกิดความสบายขณะนั่งทำงานได้อีกด้วย อีกทั้งยังสามารถช่วยลดอาการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดขึ้น

 

เมื่อเราต้องนั่งทำงานนาน ๆ อาจะทำให้เสี่ยงเป็น ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome)

      ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) คือ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด รวมถึงอาการปวดหรือชาจากอาการอักเสบจากเนื้อเยื่อและเอ็น มักเกิดขึ้นกับกลุ่มวัยทำงานที่ต้องนั่งทำงานในออฟฟิศหรือทำงานโดยใช้คอมพิวเตอร์และมือถือเป็นประจำ

ออฟฟิศซินโดรม มักเกิดจากการใช้งานกล้ามเนื้อมัดเดิม ๆ ซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน ไม่ค่อยได้เปลี่ยนท่าทาง รวมถึงอิริยาบถที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งไขว่ห้างเป็นประจำ การนั่งตัวงอ หรือการก้มหน้านาน ๆ เป็นต้น ทำให้กล้ามเนื้อที่ถูกใช้งานซ้ำ ๆ มีการหดเกร็ง หรือยืดค้างในรูปแบบเดิมบ่อย ๆ จนกล้ามเนื้อมัดนั้น ๆ เกิดการบาดเจ็บ หรืออาจขมวดเป็นก้อนตึง และเกิดอาการปวดตามมา

กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ในร่างกายของเรามีลักษณะเป็นเส้นใยร้อยโยงต่อเนื่องกันหลายส่วน เมื่อกล้ามเนื้อเริ่มมีการขมวดกันเป็นปมขึ้น ก็ดึงรั้งกันไปมา ตอนแรกอาการปวดตึงอาจจะเริ่มจากจุดหนึ่ง แต่พอนานวันเข้าก็จะร้าวไปปวดอีกจุดหนึ่ง เพราะถูกดึงรั้งจากกล้ามเนื้อส่วนที่หดเกร็ง รู้ตัวอีกทีก็จะปวดเป็นบริเวณกว้าง ๆ ระบุหาตำแหน่งที่ปวดจริง ๆ ไม่ได้เลย

ธรรมชาติของคนทำงานประจำในยุคนี้ มักจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานได้ยาก เพราะต้องโฟกัสกับงานที่ทำ หรือยุ่งจนลืมปรับเปลี่ยนท่าทางและหยุดพัก บ่อยครั้งจึงปล่อยให้อาการของโรคนี้มีอาการหนักมากขึ้น หรือลุกลามไปยังกล้ามเนื้อและระบบประสาทส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกัน

หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา หรือไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ก็อาจก่อให้เกิดอันตรายตามมา เช่น เสี่ยงต่อการเกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังคด และแขนขาอ่อนแรงอีกด้วย

อาการออฟฟิศซินโดรม ที่พบได้บ่อยดังนี้

1. ปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด: เป็นกลุ่มอาการยอดฮิตของออฟฟิศซินโดรม โดยจะเริ่มจากมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ สะบัก ส่วนหลัง และสะโพก และมักจะเป็นเรื้อรังไม่หายขาด

2. เส้นประสาทที่ข้อมือถูกกดทับ: เกิดขึ้นจากมีพังผืดบริเวณข้อมือ (ด้านฝ่ามือ) ทำให้เส้นประสาทบริเวณนั้นถูกกดทับ เกิดอาการปวดและชาที่นิ้วมือ ฝ่ามือ หรือแขน

3. นิ้วล็อค: เกิดจากการออกแรงที่นิ้วมือมาก ๆ และบ่อยครั้ง  ทำให้เกิดการเสียดสีจนอักเสบบริเวณปลอกหุ้มเอ็น และเส้นเอ็นของนิ้วมือ มักพบอาการนี้ในกลุ่มคนที่ทำงานเป็นแม่บ้าน

4. เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ: เกิดการบวมหรือเจ็บที่บริเวณเอ็นกล้ามเนื้อ มักเป็นบริเวณหัวไหล่ ข้อศอก ข้อเท้า เข่า และข้อมือ ซึ่งมักเกิดจากอุบัติเหตุ การกระแทก การใช้งานรุนแรง หรือการใช้งานที่บ่อยครั้งเกินไป ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดบริเวณที่มีอาการ

 

ใครมีโอกาสเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมได้บ้าง

อาการออฟฟิศซินโดรม อาจพบได้ทั้งในคนทำงานแบบใช้แรงเป็นประจำ และคนที่นั่งทำงานในออฟฟิศ เนื่องจากทั้งสองกลุ่มมีโอกาสที่จะทำใช้กล้ามเนื้อในรูปแบบซ้ำ ๆ เป็นประจำ

คนทำงานในออฟฟิศ แม้ว่าคนกลุ่มนี้จะแทบไม่ได้เคลื่อนไหวอะไรเลย จนดูเหมือนว่าจะไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อ แต่การนั่ง ยืน หรือค้างอยู่ในท่า ๆ หนึ่งนานเกินไป เช่น การก้มหน้าใช้งานมือถือก็ส่งผลให้กล้ามเนื้อมัดที่ใช้ในอิริยาบถนั้น ๆ บ่อย ๆ เกิดอาการตึงและปวดตามมาได้

กรณีของผู้ใช้แรงงานเป็นประจำ หรือกลุ่มนักกีฬา อาการทางกล้ามเนื้อหรือกระดูกอาจจะมาจากการเคลื่อนไหวที่ไม่เหมาะสม เช่น การยกของผิดท่า การกระชากกล้ามเนื้อเร็วเกินไปการออกแรงมากเกินไปหรือต้องแบกของที่มีน้ำหนักมากเกินไป เป็นต้น ทำให้กล้ามเนื้อหรือกระดูกได้รับบาดเจ็บอย่างเฉียบพลันหรือเรื้อรัง

 

แนวทางการสังเกตอาการโรคออฟฟิศซินโดรมด้วยตัวเอง

ลักษณะของอาการออฟฟิศซินโดรม สังเกตได้จากอาการปวดที่มีลักษณะเรื้อรัง โดยอาจจะเริ่มจากปวดเบา ๆ ไปจนถึงปวดมาก หรืออาการปวดล้า และปวดร้าวไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เป็นๆ หายๆ หรือมีอาการเป็นประจำ ซึ่งอาการปวดเหล่านี้ สามารถเกิดได้หลายส่วนในร่างกาย ได้แก่

  • บริเวณส่วนบนของร่างกาย เช่น หัว ดวงตา ท้ายทอย คอ ไหล่ สะบัก นิ้วมือ ข้อมือ ข้อศอก
  • บริเวณส่วนหลัง
  • ส่วนล่างของร่างกาย เช่น สะโพก ต้นขา เข่า ข้อเท้า

 

กลับสู่หน้าหลัก – savecyber

 

เก้าอี้ พักผ่อน

เก้าอี้ พักผ่อน – เฟอนิเจอร์ที่ควรมีติดบ้าน เพื่อรองรับช่วงเวลาของการพักผ่อนหย่อนใจ เอาไว้เอนกายเพื่อ ผ่อนคลายร่างกายในยามว่าง ซึ่งเป็นมากกว่าเฟอร์นิเจอร์ ประดับบ้าน ทำให้ไอเท็มนี้กลาย เป็นสิ่งที่ควรมีเหตุผลหลาย ๆ อย่างประกอบกัน หากถามว่าอะไรบ้างแสดงให้เห็นว่าควรมี เก้าอี้เอาไว้ เราได้รวบรวมไว้ให้แล้ว

เก้าอี้ พักผ่อน ควรมีลักษณะแบบไหน?

ก่อนอื่นไปดูกันก่อนว่าสิ่งที่เรียกว่า เก้าอี้ พักผ่อน ควรเป็นแบบไหน กล่าวคือควรรองรับกับสรีระในอิริยาบถต่าง ๆ ไม่ว่าจะนั่งตรง เอนหลัง หรือนอนราบ จึงควรเป็นเก้าอี้ที่ปรับระดับได้ มีที่วางขารองรับ สำหรับพักผ่อนโดยที่จริง ควรมีไว้ติดบ้านด้วยเหตุผล ดังนี้

1.คลายกล้ามเนื้อ

เหตุผลแรกที่ควรมี เก้าอี้ พักผ่อนเอาไว้ติดบ้านคือผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ยกตัวอย่างเก้าอี้เบาะนิ่ม เช่น รุ่น HC-055 ที่สามารถปรับระดับ ให้นั่งตรงหรือเอนหลังได้ มีที่รองขาเสร็จสรรพ ช่วยให้ผ่อนคลายกล้ามเนื้อได้ ลดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ จากการนั่งในท่าที่ไม่สบาย สามารถปรับระดับได้เพื่อให้รองรับกับท่านั่งที่เหมาะกับช่วงเวลาต่าง ๆ รองรับการเอนร่างกาย ไปกับพนักพิง ไม่ต้องเกร็งกล้ามเนื้อเอาไว้ ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวดเมื่อยและโรคทางสุขภาพต่าง ๆ

 

2.ลดความเสี่ยงโรคกระดูก

การนั่งใน ท่าที่ไม่เหมาะสม ทำให้มีความเสี่ยงโรคกระดูกได้ อันเกิดจากการกดทับเป็นเวลานาน ๆ ในท่านั่งที่ไม่เหมาะสม การได้นั่งบนเก้าอี้พักผ่อนปรับระดับได้ ปรับระดับพนักพิงได้ ให้เอนหลัง ได้ในองศาที่พอดี จะช่วยกระจายน้ำหนักตัวไปยังส่วนต่าง ๆ ได้พอดี ไม่ทำให้เกิดการกดทับ ที่จุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งทำให้ เป็นอันตรายต่อกระดูก บริเวณนั้นได้ ที่สำคัญในเรื่อง ของกระดูกสันหลัง ยังช่วยลดอาการงอ ของกระดูก หากได้นั่งในท่าที่เหมาะสม ที่สำคัญยังลดความเสี่ยงหมอนรองกระดูก ทับเส้นประสาท จากการนั่ง ในท่าที่ไม่เหมาะสม เป็นเวลานาน

 

3.ระบบทางเดินหายใจที่ดี

การได้นั่งใน ท่าที่เหมาะสม นอกจากช่วยใน เรื่องของกล้ามเนื้อแล้ว ยังช่วยให้ระบบทางเดินหายใจ เป็นไปอย่างราบรื่นด้วย การได้นั่ง ในท่าที่สบาย จะช่วยให้ลดความเสี่ยงภาวะ การหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคหัวใจ

 

4.ระบบหมุนเวียนเลือดที่เหมาะสม

เก้าอี้พักผ่อนที่รองรับในท่าต่าง ๆ ช่วยเรื่องการหมุนเวียนเลือดที่สะดวกขึ้น ด้วยท่านั่งที่เหมาะสม เพราะเก้าอี้จะมีที่รองขา ที่สามารถปรับให้ขาทิ้งลงตั้งฉากกับร่างกายได้ หรือสามารถยกขาให้สูงขึ้นได้ด้วย

 

5.ลดความเสี่ยงโรคออฟฟิศซินโดรม

สำหรับวันพักผ่อน จากการทำงานประจำวัน ซึ่งต้องนั่งในท่าเดิม ๆ เป็นเวลานาน เสี่ยงต่อการเป็นออฟฟิศซินโดรม หากได้นั่งในท่าที่ผ่อนคลายในวันหยุด โดยให้ เก้าอี้พักผ่อน เป็นตัวช่วย ก็จะทำให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลาย ลดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อได้ยืดหยุ่น จึงลดความเสี่ยงของโรคออฟฟิศซินโดรมได้

 

6.ลดความถี่อาการปวดศีรษะ

หลายครั้งอาการ ปวดศีรษะก็มาจากอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ที่ทำให้อาการลุกลามขึ้นมาที่ศีรษะ และปวดศีรษะตามไปด้วย แต่ถ้าหากไ ด้นั่งท่าที่เหมาะสม กล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ ได้รับการรองรับที่ดีกว่า กล้ามเนื้อได้คลายตัว ก็จะช่วยให้อาการปวดศีรษะ นั้นเกิดขึ้นน้อยลงด้วย

 

7.คลายเครียด

การได้นั่ง ในท่าที่เหมาะสม สามารถเปลี่ยนอิริยาบถได้ ตลอดเวลาอย่างอิสระ ช่วยให้ผ่อนคลายมากขึ้น ทันทีที่รู้สึกว่าท่าที่นั่ง อยู่เริ่มไม่สบาย ก็ปรับเปลี่ยนได้โดยมี เก้าอี้เป็นตัวรองรับ กับอิริยาบถนั้น ๆ ก็จะช่วยให้รู้สึกสบายกว่า ส่งผลต่อสุขภาพกาย และสุขภาพใจที่สมดุล จึงผ่อนคลาย ความเครียดได้อย่างมี ประสิทธิภาพ

 

8.การนั่งในท่าที่เหมาะสม

ช่วยให้สามารถนั่ง ในท่าที่เหมาะสมได้ ตามความรู้สึกของร่างกาย ทันทีที่รู้สึกเมื่อย จากท่านั่งหนึ่งก็สามารถ เปลี่ยนไปนั่งในท่าที่ แตกต่างได้ทันทีอย่างอิสระ เหมาะสมกับ ทุกความรู้สึก ซึ่งเป็นท่านั่งที่เหมาะสมที่สุด สอดคล้องกับสรีระ และสภาวะของกล้ามเนื้อ ณ ขณะนั้น

 

9.เสริมบุคลิกภาพ

การได้นั่งในท่าที่เหมาะสม ลดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ และลดอัตราการกดทับของกระดูก ทำให้หลังตรงไม่คดงอ จึงช่วยเสริมบุคลิกภาพได้ในทางอ้อม เป็นอีกหนึ่งเหตุผลดี ๆ ที่ควรมี เก้าอี้เอาไว้ติดบ้าน

 

10.รองรับกับอิริยาบถต่าง ๆ

ไม่ว่าจะนอนหรือจะนั่ง และไม่ว่าจะทำกิจกรรมอะไร อาทิ ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ หรือแม้แต่ทำงานการนั่งบนเก้าอี้ก็สามารถ รองรับกับอิริยาบถต่าง ๆ ได้ด้วยเก้าอี้ตัวเดียว ไม่ต้องมีเก้าอี้ หลายตัวหรือ ไอเท็มหลากหลายเอาไว้ รองรับอิริยาบถ ที่แตกต่างกัน

 

วิธีการดูแลรักษาเก้าอี้พักผ่อน

  1.     ทดสอบผลิตภัณฑ์ ทำความสะอาดเครื่องหนัง ซึ่งก่อนที่เราจะใช้น้ำยาเช็ด ทำความสะอาดตัวเก้าอี้นั้น เราควรทดสอบน้ำยาก่อน ว่ามีความรุนแรงเกินไปต่อหนังหุ้มเก้าอี้หรือไม่ ด้วยการทำความสะอาด บริเวณด้านล่าง หรือตรงจุด ที่สังเกตเห็นได้ยาก เมื่อแน่ใจแล้วว่าน้ำยานี้ไม่ทำอันตรายต่อพื้นผิว ค่อยเริ่มขัด ทำความสะอาด เก้าอี้พักผ่อน ของเราได้ตามปกติ ซึ่งผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ ดีควรมีส่วนผสมของแว็กซ์ ไม่ควรใช้เป็นแบบน้ำมัน หรือหากไม่มีผลิตภัณฑ์ ทำความสะอาดหนัง ให้ใช้สบู่ผสมน้ำก็ได้เช่นเดียวกัน

  2.    หากมีรอยสกปรกขนาดใหญ่ ให้เริ่มทำความสะอาดจากบริเวณ ที่มีรอยเปื้อนขนาดเล็กก่อน หรือตรงบริเวณที่มีครายเลอะน้อยที่สุด แล้วค่อยไล่ไปจุดที่สกปรกมากๆ เพื่อไม่ให้เกิดการกระจายตัวของคราบดำ

  3.    หากมีรอยเปื้อนเพียงเพียงเล็กน้อย ให้ใช้ผ้าชุบน้ำหมาด ๆ ทำความสะอาดก็เพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำยาเช็คเครื่องหนัง ในการทำความสะอาดในทุกๆครั้ง

  4.    หากเกิดปัญหา เชื้อราบริเวณเก้าอี้พักผ่อน ให้ใช้น้ำส้มสายชูผสมน้ำ แล้วใส่ขวดสเปรย์ แล้วฉีดลงบนหนัง เมื่อฉีดแล้วให้รีบใช้ ผ้าเช็ดออกอย่างรวดเร็ว เพื่อให้น้ำส้มสายชู สัมผัสหนังของเราน้อยที่สุด เพราะน้ำส้ม สายชูเพียงเล็กน้อย ก็สามารถทำลายเชื้อราให้หมดไปได้แล้ว

  5.     เมื่อเช็ดเก้าอี้พักผ่อนหนังแท้ ด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดแล้ว ควรใช้ผ้าชุดน้ำบิดหมาดๆ เช็ดลงที่เก้าอี้พักผ่อน จากนั้นให้ใช้ผ้าแห้งเช็ดให้ทั่วอีกครั้ง เพื่อให้น้ำยาผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ตกค้างอยู่หมดไป

  6.    หลังจากที่ สิ่งสกปรกหมดจาก เก้าอี้พักผ่อนแล้ว ให้ใช้น้ำยาเคลือบหนังลงบนโซ เก้าอี้พักผ่อนของเราเพื่อ เพิ่มความชุ่มชื่นให้กับหนัง และควรเลือกผลิตภัณฑ์บำรุงหนัง ที่ทำมาจากแว็กซ์ธรรมชาติ เพราะจะช่วยให้ความชุ่มชื่น กับตัวหนังได้ดีที่สุด โดยมีขั้นตอนการดูแล คือ การใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำยาบำรุงหนัง จากนั้นก็ทาบาง ๆ ลงที่ตัวหนัง ซึ่งการทาบำรุงหนัง นี้ไม่จำเป็นต้องทำบ่อย เพียงปีละ 1 ครั้ง ก็เพียงพอแล้ว

  7.     การจะดูแล เก้าอี้พักผ่อนให้อยู่ได้นานที่สุด นอกจากการ ทำความสะอาดจะทำสำคัญแล้ว ยังควรตั้งวาง เก้าอี้พักผ่อนไว้ในร่ม หรืออย่าให้โดนแดด เพราะแสงแดดสามารถ ทำลายหนังสวย ๆ ให้เสียได้อย่างง่ายดาย

  8. เมื่อเกิดรอยสกปรก ขึ้นที่บริเวณ เก้าอี้พักผ่อน ให้รีบทำ ความสะอาดอย่างรวดเร็ว เพราะยิ่งทำ ความสะอาดเร็วแค่ไหน ก็จะทำให้ขจัดรอยเปื้อนให้หายไปได้ง่ายมากขึ้นเท่านั้น

ทั้งหมดที่ กล่าวมาก็เป็นเหตุผลดี ๆ ที่การันตีว่าควรมี เก้าอี้ติดบ้านไว้ หลัก ๆ เลยก็จะเป็นเหตุผล ในเรื่องของสุขภาพ เพราะท่านั่งที่เหมาะสม ดีต่อสุขภาพหลายด้านด้วยกัน ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ

กลับสู่หน้าหลัก –  savecyber

เก้าอี้ห้องประชุม ราคาถูก

เก้าอี้ห้องประชุม  – เนื่องจากห้องประชุมหรือห้องสัมมนาเป็นพื้นที่กว้าง และแน่นอนว่าต้องใช้ เก้าอี้รับรอง จำนวนมากในการใช้ให้พอจำนวนคน ดั้งนั้นเราจึงต้องเลือกใช้เก้าอี้มีประสิทธิภาพจะต้องพิจารณาถึงงบประมาณการเลือกซื้อเป็นอันดับแรก เพื่อให้คุ้มค่าแก่การลงทุนซึ่งเก้าอี้ที่ใช้ต้องมีความทนทานและนั่งแล้วไม่ปวดหลัง เพราะผู้เข้ามาใช้เก้าอี้จะต้องใช้สมาธิในการสัมมนาระยะเวลาที่เข้าประชุมอาจใช้เวลานานพอสมควร

รูปแบบการจัดห้องประชุม

1.การจัดห้องประชุมแบบเธียเตอร์ เป็นการจัดห้องประชุมที่ยึดรูปแบบโรงหนังหรือโรงละครเวที

2.การจัดห้องประชุมแบบเก้าอี้วงกลม รูปแบบการจัดห้องประชุมแบบใช้เพียงเก้าอี้อย่างเดียว

3.การจัดห้องประชุมแบบห้องเรียน การประชุมที่ผู้เข้าร่วมประชุมจะต้องมีการจดบันทึก

4.การจัดห้องประชุมแบบบอร์ดรูม  การประชุมที่ผู้เข้าร่วมประชุมต้องปรึกษาหารือและระดมความคิดกัน

5.การจัดห้องประชุมแบบโต๊ะกลมวงปิด งานที่ต้องการให้ผู้เข้าร่วมได้มีการพูดคุยสนทนาได้อย่างสะดวก

6.การจัดห้องประชุมแบบโต๊ะวงกลมเปิด เหมาะกับงานที่ผู้เข้าร่วมพูดคุยพร้อมๆกับที่ต้องการให้ผู้เข้าร่วมสามารถมองเห็นเวทีได้สะดวกมากขึ้น

7.การจัดห้องประชุม U shape เหมาะกับงานขนาดเล็ก-กลางที่วิทยากรหรือผู้บรรยายต้องการใกล้ชิดผู้ฟัง สามารถเดินเข้าไปหาผู้ฟังได้ง่าย

รูปแบบของเก้าอี้ประชุม

1.เก้าอี้โพลี

2.เก้าอี้สัมมนา

3.เก้าอี้หัวโค้ง

4.เก้าอี้ทรงราชา

ฮวงจุ้ยห้องทํางานผู้บริหารและการออกแบบ

ทิศทางการตั้งห้องทำงานผู้บริหาร
ตำแหน่งที่ตั้งของห้องทำงานระดับผู้บริหารที่เหมาะสมกับฮวงจุ้ยที่ดีนั้น ควรตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ โดยทิศดังกล่าวมีความหมายว่าอาวุโส และมีการเคลื่อนไหวของทรัพย์สินเงินทอง เหมาะสำหรับองค์กรภาคเอกชนที่ต้องการความมั่งคั่งของทรัพย์สินภายในบริษัท

ห้องทำงานผู้บริหารต้องสว่าง
ไม่เพียงแต่ทิศทางการตั้งห้องทำงานเท่านั้น ในการการออกแบบห้องทำงานผู้บริหารตามฮวงจุ้ยนั้น ควรมีแสงสว่างภายในห้อง โดยแสงสว่างเปรียบเสมือนพื้นที่รับพลังงานหยาง โดยพลังงานหยางเป็นพลังที่เสริมสร้างความกระตือรือร้น เป็นพลังงานแห่งความเคลื่อนไหว ช่วยผลักดันให้องค์กรก้าวหน้า ทั้งนี้ในการออกแบบห้องควรเพิ่มกระจกหรือเลือกใช้ผ้าม่านโปร่งแสง ที่ช่วยเสริมให้แสงสว่างส่องเข้าห้องได้สะดวกขึ้น

ตำแหน่งการจัดวางโต๊ะทำงานผู้บริหาร
สำหรับตำแหน่งการจัดวางโต๊ะภายในห้องผู้บริหาร ทิศทางเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยเสริมฮวงจุ้ยให้กับการทำงานได้ โดยทิศมงคลสำหรับผู้บริหารมีดังนี้

ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ การตั้งโต๊ะทิศนี้ช่วยเรื่องโอกาสในการรับงานสำคัญ เปรียบเสมือนมีเทพคอยเกื้อหนุน
ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ทิศนี้ช่วยเสริมเรื่องความมีชื่อเสียงเกียรติยศ เหมาะสำหรับผู้บริหารในองค์กรของรัฐ ทิศทางนี้จะช่วยเสริมบารมีในการทำงาน
ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตำแหน่งการตั้งโต๊ะในทิศนี้ ช่วยเสริมพลังความคิด เหมาะสำหรับผู้บริหารที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์
ทิศตะวันตก ในด้านทิศตะวันตกช่วยเสริมเรื่องการจัดปัญหาและอุปสรรค์ในการทำงาน ทำให้การบริหารงานราบรื่น

การออกแบบห้องประชุมตามหลักฮวงจุ้ย

ห้องประชุมเป็นพื้นที่สำคัญในองค์กร การดำเนินงาน การตัดสินใจเรื่องสำคัญที่ขับเคลื่อนองค์กรล้วนเกิดขึ้นในพื้นที่แห่งนี้ ดังนั้นฮวงจุ้ยที่ดีจึงสำคัญที่ช่วยเป็นพลังงานดีเสริมภายในองค์กร

ออกแบบตำแหน่งการนั่งของประธานกับฮวงจุ้ยห้องประชุม

ประธานหรือผู้บริหารถือเป็นประมุขขององค์กร ดังนั้นการออกแบบฮวงจุ้ยห้องประชุมให้เสริมพลังงานดีแก่ผู้นำองค์กรถือเป็นเรื่องสำคัญ สำหรับตำแหน่งของประธานการประชุม ควรตั้งในทิศเหนือ (ทิศเต่าดำ) เก้าอี้ที่ใช้ควรเป็นแบบพนักพิงสูง มีที่เท้าแขนทั้งสองข้างเปรียบดังบัลลังก์ของจักรพรรดิ

ถอดรหัสฮวงจุ้ยกับตำแหน่งทิศทางการนั่งของประธาน

ทิศเต่าดำ หมายถึงความมั่งคั่ง การให้ประธานนั่งตำแหน่งทิศนี้ช่วยเสริมความมั่งคั่ง ร่ำรวยให้กับองค์กร เหมาะสำหรับห้องประชุมของภาคเอกชน ส่วนภาครัฐทิศที่เหมาะสมคือ ทิศเสือขาว (ทิศตะวันตก) จะเสริมเรื่องอำนาจการปกครองผู้ใต้บังคับบังชา
เก้าอี้พนักพิงสูง ช่วยเสริมความสง่างาม ความน่าเกรงขามให้กับประธาน
ที่เท้าแขนเก้าอี้สองข้าง เสริมฮวงจุ้ยโดย ตำแหน่งการนั่งทิศเต่าดำ ที่ท้าวแขนสองข้างจึงเปรียบเสมือนมังกรเขียวและเสือขาว โดยมังกรเขียวเสริมเรื่องบารมีส่วนเสือขาวช่วยเสริมอำนาจทิศทางฮวงจุ้ยห้องประชุมกับธาตุทั้ง 5ศาสตร์ของฮวงจุ้ยกับการเสริมพลังงานดี สามารถลงลึกรายละเอียดได้ถึงระดับบุคคล โดยในแต่ละคนจะมีธาตุประจำตัวที่แตกต่างกันตามธาตุทั้ง 5 ได้แก่ ธาตุน้ำ, ธาตุไฟ, ธาตุไม้, ธาตุทองและธาตุดิน ซึ่งแต่ละธาตุมีความหมายดังนี้
ธาตุน้ำ หมายถึงผู้ประสาน ศูนย์รวมใจของทุกคน
ธาตุไฟ หมายถึง ผู้วางกฎระเบียบ
ธาตุไม้ หมายถึง ผู้มีความคิดสร้างสรรค์
ธาตุทอง (ธาตุเหล็ก) หมายถึง ผู้เป็นตัวกลางในการประนีประนอม
ธาตุดิน หมายถึง ผู้ที่มีความหนักแน่นและมีความเชื่อมั่นในตนเอง

สำหรับบริบทนี้มุ่งเน้นไปที่การออกแบบห้องประชุมกับธาตุของผู้นำองค์กรและประธานการประชุม โดยในการออกแบบห้องประชุมให้สอดรับกับธาตุของผู้นำ สามารถทำได้โดยการจัดตำแหน่งทิศทางการนั่งดังนี้

ทิศเหนือ เหมาะสำหรับคนธาตุน้ำ
ทิศใต้ เหมาะสำหรับคนธาตุไฟ
ทิศตะวันออก เหมาะสำหรับคนธาตุไม้
ทิศตะวันตก เหมาะสำหรับคนธาตุทอง
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เหมาะสำหรับคนธาตุดิน

ทั้งนี้ทิศทางการนั่งภายในห้องประชุมแบบออดิทอเรียม (auditorium) จะแตกต่างจากห้องประชุมประเภทอื่น อาทิ ห้องประชุมบอร์ดรูม (boardroom) หรือห้องประชุมแบบวอร์รูม (warroom) ที่สามารถกำหนดตำแหน่งการนั่งได้ตายตัว ดังนั้นการจัดตำแหน่งฮวงจุ้ยในห้องประชุมแบบออดิทอเรียม จึงเปลี่ยนจากการนั่งเป็นตำแหน่งการจัดวางโพเดียม (podium) ให้เป็นไปตามทิศที่เหมาะสมของแต่ละธาตุแทน

หลักการออกแบบด้วยหลักสัปปายะ 7 ประการ

สัปปายะ หมายถึง สภาพแวดล้อมที่สบายทั้งสบายกายและสบายใจแก่ผู้อาศัย ดังนั้นหลักสัปปายะจึงเป็น หลักที่ว่าด้วยการออกแบบสภาพแวดล้อมให้สบาย สำหรับการออกแบบห้องประชุมหลักสัปปายะเกี่ยวข้องโดยตรงกับความสะดวกสบายของผู้ใช้งานห้องประชุม เพราะนอกจากฮวงจุ้ยด้านตำแหน่งและทิศทางแล้ว ความสะดวกสบายยังสร้างพลังงานที่ดีทางกายภาพอีกด้วย โดยหลักสัปปายะ 7 ประการมีดังนี้

1. อาวาส
อาวาสหมายถึง สถานที่และอุปกรณ์ โดยสถานที่ต้องมีความแข็งแรง พร้อมใช้งาน ไม่ชำรุดทรุดโทรม สำหรับการออกแบบห้องประชุม สามารถปฏิบัติตามในข้ออาวาสด้วยการเลือกวัสดุที่มีความแข็งแรงและปรับปรุงห้องประชุมให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

2. อุตุ
อุตุหมายถึง อากาศ ซึ่งในการออกแบบอากาศเป็นสิ่งสำคัญ โดยอากาศต้องเป็นอากาศที่ดี บริสุทธิ์ ปราศจากกลิ่นอับ ต้องหายใจได้สะดวก สำหรับการออกแบบห้องประชุม แม้ว่าเป็นพื้นที่ปิดแต่สามารถวางระบบปรับอากาศและระบบระบายอากาศให้ผู้เข้าประชุมรู้สึกสบายและหายใจสะดวก

3. โคจร
โคจรคือฟังก์ชันการใช้งานที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งาน สำหรับการออกแบบห้องประชุมจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้ใช้งานห้องประชุม ตัวอย่างการออกแบบตามหลักโคจร อาทิ ทางเดินระหว่างที่นั่งที่กว้างขว้าง หรือขั้นบันไดที่ออกแบบเพื่อการเดินที่ถูกต้องตามสรีระศาสตร์

4. โภชนา
โภชนาคือ ความสะดวกสบายในการใช้งานพื้นที่ สำหรับการออกแบบห้องประชุมในส่วนโภชนาคือ การใช้งานพื้นที่ในด้านติดต่อสื่อสาร อาทิ ระบบการสื่อสารระหว่างผู้เข้าประชุมกับผู้นำเสนอข้อมูล เป็นต้น

5. ผัสสะ
ผัสสะหมายถึง สภาพแวดล้อมของผู้ใช้งานพื้นที่ ทั้งสีสัน เสียงและแสง สำหรับห้องประชุมผัสสะนั้นคือ ระบบโสตทัศนูปกรณ์ แสง เสียง ภาพ และอะคูสติกส์ ดังนั้นการออกแบบห้องประชุมให้สอดรับกับผัสสะ คือการออกแบบระบบโสตฯ ที่มีความทันสมัยและระบบอะคูสติกส์ที่มีประสิทธิภาพในการรองรับการประชุม

6. บุคคลา
บุคคลาหมายถึง บุคคลเข้าไปใช้งานในสถานที่ ซึ่งในที่นี้หมายถึงผู้เข้าร่วมประชุม

7. อิริยาบถ
การออกแบบอิริยาบถหมายถึง รสนิยมหรือสไตล์ความชอบที่นำมาใช้ในการออกแบบ ทั้งนี้ในแต่ละบุคคลมีรสนิยมที่แตกต่างกัน แต่จะมีความเชื่อมโยงกัน อาทิ คนฝั่งตะวันตกนิยมเรื่องเทคโนโลยี ส่วนคนฝั่งตะวันออกนิยมความเรียบง่าย เป็นต้น

สีสันช่วยเสริมบรรยากาศ

สีสันหรือเฉดสีภายในห้องเชื่อมโยงกับธาตุของผู้บริหารองค์กร รวมถึงช่วยเสริมบรรยากาศและความรู้สึกภายในห้องประชุม โดยในแต่ละสีสามารถเชื่อมโยงกับธาตุได้ดังนี้

ธาตุน้ำ ถูกโฉลกกับสีดำ สีเทา สีน้ำเงินและสีฟ้า โดยสีเหล่านี้ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย สงบนิ่ง
ธาตุไฟ ถูกโฉลกกับสีแดง สีชมพูและสีม่วง ทั้งสามสีช่วยกระตุ้นความกระตือรือร้น
ธาตุไม้ ถูกโฉลกกับสีเขียวอ่อน สีเขียวแก่และสีน้ำตาลอ่อน ซึ่งให้ความรู้สึกถึงการเติบโตและให้ความสดชื่น
ธาตุทอง (ธาตุเหล็ก) ถูกโฉลกกับสีขาว สีเงิน สีทองและโลหะมันวาว แสดงให้เห็นถึงความรวดเร็ว ความทันสมัย
ธาตุดิน ถูกโฉลกกับสีเหลือง สีส้ม สีน้ำตาลและสีครีม ให้ความรู้สึกถึงความมั่นคงและหนักแน่น

สำหรับการเลือกใช้สีเพื่อเสริมฮวงจุ้ยภายในห้องประชุม นอกเหนือจากการทาสีผนังแล้ว การเลือกวัสดุตกแต่งที่ใช้ยังเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยเสริมฮวงจุ้ยที่ดีได้ อาทิ คนธาตุน้ำกับเหล็ก ธาตุไม้กับไม้หรือธาตุไฟกับกระจก เป็นต้น

มารยาทในการใช้ห้องประชุม
1. มาก่อนเวลา อันนี้ถือเป็นมารยาทการใช้ห้องประชุมหรือสัมมนาอย่างหนึ่ง ซึ่งคุณควรจะมาก่อนเวลาเริ่มประชุม เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าห้องประชุม ซึ่งคุณจะมีเวลาทำธุระส่วนตัว ให้เรียบร้อย และการมาก่อนเวลา หรือเข้าร่วมประชุมตามเวลานั้น จะทำให้คุณไม่พลาดเนื้อหาสำคัญๆ ในการพรีเซนต์อีกด้วย
2. ห้ามส่งเสียงดัง การประชุม ไม่ว่าจะเป็นที่ใดก็ตาม ทุกคนควรให้เกียรติ และเป็นผู้ฟังที่ดี สนใจกับเนื้อหาการประชุม หรือสัมมนา ซึ่งถือเป็นมารยาทอย่างหนึ่งที่ทุกคนควรมี และการงดใช้เสียงดังยังเป็นการรักษาบรรยากาศ กับผู้ร่วมประชุมท่านอื่น
3. ปิดเครื่องมือสื่อสาร ก่อนเข้าร่วมประชุม ควรปิดเครื่องมือสื่อสาร หรือปิดเสียง เปิดสั่น เพื่อไม่เป็นการก่อความรำคาญ และทำลายบรรยากาศการประชุม หรือสัมมนา
4. ตั้งใจฟังในสิ่งที่พูดนำเสนอ ทุกๆท่านที่เข้าร่วมประชุม ควรตั้งใจฟังเนื้อหา ที่ผู้นำเสนอตั้งใจเตรียมมา และเก็บเกี่ยวความรู้ หรือเนื้อหาการประชุมให้ได้มากที่สุด เพื่อต่อยอดการนำข้อมูลไปใช้ต่อ หรือร่วมแก้ปัญหา ในหัวข้อที่นำมาเข้าประชุม
5. เก็บเก้าอี้ให้เรียบร้อยก่อนออกจากห้องประชุม อันนี้ถือเป็นเกล็ดเล็กๆน้อยๆ ที่จะทำให้ทุกๆคนมองคุณดียิ่งขึ้น เสริมสร้างภาพลักษณ์ และบุคลิกให้ดูน่าเคารพ ด้วยสิ่งเล็กๆที่คุณทำ เปรียบเสมือน คุณให้เกียรติ และเป็นคนเรียบร้อย ที่ใส่ในใจรายละเอียดเล็กๆ
6. มารยาทในการถามคำถาม ช่วงการถามคำถาม หรือซักถามข้อสงสัย นั้น ต้องดูจังหวะให้ดี เพื่อไม่ให้เป็นการขัดจังหวะการนำเสนอ ของผู้นำเสนอ อาจจะถามในช่วง ต่างๆได้ เช่น ยกมือถามคำถาม ,รอให้จบหัวข้อนั้นๆก่อน รอให้จบการนำเสนอ หรือผู้นำเสนอ เปิดโอกาสให้ถามคำถาม เพื่อรักษามารยาท และบรรยากาศการประชุม
การดูแลรักษาเก้าอี้ห้องประชุม
หลีกเลี่ยงแดดส่องบนเก้าอี้ตาข่ายเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันไม่ให้ผ้า หรือตาข่ายซีดจาง และอาจทำให้ฟองน้ำและเนื้อผ้าเสื่อมสภาพก่อนเวลาอันควร และไม่ควรวางเก้าอี้ตาข่ายไว้ในที่ที่มีความชื้นสูง เพราะความชื่นอาจทำให้เกิดราขึ้นที่เนื้อผ้าได้
หากทำน้ำหรือเครื่องดื่มหกเลาะเก้าอี้ให้เช็ดด้วยผ้าสะอาดหรือฟองน้ำทันที และถ้าเป็นคราบให้เช็ดด้วยน้ำสบู่เจือจาง แล้วเช็ดด้วยผ้าหมาด ๆ แล้วผึ่งลมให้แห้ง
ระมัดระวังของมีคม หรืออุปกรณ์สำนักงานที่มีปลายแหลม อย่างเช่นปากกา หรือ คัตเตอร์ โดนผ้าเบาะ หรือผ้าตาข่าย
อาจทำให้ผ้าฉีกขาดเกิดความเสียหายได้
ทำความสะอาดเก้าอี้อย่างสม่ำเสมอ โดยใช้ผ้าสะอาด ทำความสะอาด เช็ดฝุ่นที่เกาะอยู่ตามเก้าอี้ นอกจากนี้ควรใช้เครื่องดูดฝุ่นดูดตามซอกต่างๆ ด้วย และหลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาเคมีในการทำความสะอาด เพราะอาจจะทำให้เก้าอี้เกิดความเสียหายได้

นอกจากการดูแลในเบื้องต้นแล้ว ก่อนซื้อ เก้าอี้สำนักงาน ควรเลือกเก้าอี้สำนักงาน ที่มีคุณภาพ ใช้วัสดุทนทาน สามารถรองรับการใช้งานได้ดี และควรเลือกเก้าอี้ที่มีการรับประกันสินค้า เผื่อเกิดความเสียหาย

กลับสู่หน้าหลัก – savecyber

เก้าอี้ออฟฟิศซินโดรม

เก้าอี้ออฟฟิศซินโดรม –  อาการปวดหลัง เป็นปัญหากวนใจของพนักงานออฟฟิศ เพราะต้องนั่งทำงานหน้าคอมเป็นเวลานาน แม้ว่าปัจจุบันจะมีวิธีการรักษาหลายรูปแบบแต่การป้องกันก็สำคัญไม่แพ้กัน เริ่มจากการเลือกเก้าอี้สุขภาพที่ออกแบบมาเพื่อช่วยป้องกันการนั่งผิดท่า เพราะร่างกายแต่ละคนนั้นต่างกัน เราจึงต้องเลือกหาเก้าอี้สุขภาพที่เหมาะกับตัวเอง

ออฟฟิศซินโดรมคืออะไร

เป็นอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดอันเนื่องมาจากรูปแบบการทำงานที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมๆซ้ำๆ เป็นระยะเวลานาน เช่นการนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานเกินไปโดยไม่ขยับ รวมไปถึงอาการชาที่บริเวณแขนหรือมือ จากการที่เส้นประสาทปลายถูกกดทับอย่างต่อเนื่อง

สาเหตุของออฟฟิศซินโดรม

นอกจากพฤติกรรมซ้ำเดิม การนั่งทำงานในอิริยาบถเดิมนานๆ โดยไม่มีการขยับปรับเปลี่ยนท่าทาง การนั่งทำงานด้วยท่าที่ไม่ถูกต้อง หรือนั่งเก้าอี้ที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น เก้าอี้เตี้ยหรือสูงเกินไป ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว

นอกจากนี้การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์นานจนเกินไป การเพ่งใช้สายตานานๆ การปรับแสงหน้าจอคอมพิวเตอร์ไม่เหมาะสม รวมถึงการทำงานหนักเกินไป พักผ่อนน้อย ความเครียดและวิตกกังวลก็เป็นสาเหตุของกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมเช่นกัน

สัญญานเตือนว่าคุณอาจจะเป็นออฟฟิศซินโดรม

1.ทำงานอยู่ดีๆมือก็ชา

2.ปวดหัวหนักมาก

3.ปวดหลัง

4.รู้สึกปวดแสบขณะปัสสาวะ

5.ตาพร่ามัวขณะทำงานหน้าคอมพิวเตอร์

อาการของออฟฟิศซินโดรม

อาการส่วนใหญ่ของกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมอาจแตกต่างกันไป ขึ้นกับแต่ละบุคคล โดยอาการส่วนใหญ่มีดังนี้

ปวดเมื่อยหรือเกร็งตามกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เช่น คอ บ่า ไหล่ หลัง ต้นคอ แขน ข้อมือ นิ้วมือ เกิดจากการนั่งทำงานในท่าเดิมนานๆ กล้ามเนื้อหดเกร็งมากเกินไป อาจรุนแรงขึ้นและกลายเป็นอาการเรื้อรัง
เจ็บ ตึง หรือชาตามอวัยวะต่างๆ เรื้อรัง เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อ มีเอ็นอักเสบทับเส้นประสาท หรือเส้นประสาทตึงตัวจนกลายเป็นอาการชาตามมือ แขน เส้นยึด และนิ้วล็อกในที่สุด
เหน็บชา แขนขาอ่อนแรง เกิดจากนั่งนานเกิดไปทำให้กดทับเส้นประสาท การไหลเวียนเลือดผิดปกติ มักมีอาการชาบริเวณนิ้วกลาง นิ้วนาง หรือปวดบริเวณข้อมือ
นิ้วล็อก เกิดจากการจับเมาส์หรือใช้นิ้วมือกดโทรศัพท์มือถือในท่าเดิมระยะเวลานานๆ มีอาการเส้นเอ็นอักเสบหรือปลอกหุ้มเอ็นนิ้วมืออักเสบ ทำให้เส้นเอ็นหนาขึ้นและไม่สามารถเหยียดนิ้วมือได้ตามปกติ
ปวดศีรษะ มีอาการปวดตุ๊บๆ คล้ายไมเกรน อาจปวดร้าวไปถึงตา เกิดจากการใช้สายตาในการทำงานมาก ร่วมกับมีความเครียดสะสม วิตกกังวล และพักผ่อนไม่เพียงพอ
นอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท อาจเกิดจากความเครียด หรืออาการปวดเมื่อยหรือปวดหัวที่รบกวนเวลานอนเป็นระยะ

ภาวะแทรกซ้อนของออฟฟิศซินโดรม

1.เสี่ยงเกิดหมอนรองกระดูกทับเส่นประสาท กระดูกสันหลังคด และแขนขาอ่อนแรง หากรุนแรงมากอาจทำให้เดินไมไ่ด้ ต้องทำกายภาพบำบัด หรือผ่าตัดเลยทีเดียว

2.เสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า อันมาจากความเครียดสะสม ความกดดัน และบรรยากาศไม่ดีในที่ทำงาน

3.เสี่ยงต่อโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง จากการรับประทานอาหารจุบจิบในเวลาทำงาน และไม่มีเวลาออกกำลังกาย

เคล็ดลับการปรับพฤติกรรมให้ห่างไกลออฟฟิศซินโดรม

1.ปรับสภาพแวดล้อมในการทำงานใหม่เหมาะสม สะอาด และมีอากาศถ่ายเท เพื่อให้หายใจได้สะดวก

2.เลือกเก้าอี้ที่เหมาะกับสรีระ ปรับระดับความสูงของโต๊ะและเก้าอี้ให้สามารถนั่งทำงานในท่าที่สบายคือให้เท้าจรดพื้น และเข่าตั้งฉากอยู่ในระดับเดียวกับสะโพก

3.หมั่นเปลี่ยนอิริยาบถทุก ๆ 30 นาที หรือลุกไปยืดเส้นยืดสาย สูดอากาศภายนอกเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อและลดความตึงเครียด

4.นั่งเก้าอี้ให้เต็มก้น หลังตรงแนบกับพนักพิง ไม่โน้มตัวเข้าหาหน้าจอ และคอยระวังให้ไหล่อยู่ในท่าธรรมชาติ ไม่นั่งห่อไหล่

5.หากที่นั่งเก้าอี้ลึกเกินไป ควรหาหมอนมาหนุนหลัง เพื่อให้นั่งสบายและหลังตรง

6.ปรับหน้าจอให้ตรงหน้าพอดี และอยู่ในระดับสายตา หรือต่ำกว่าสายตาเล็กน้อย โดยที่ไม่ต้องก้มหรือแหงนคอมากไปเกินไป และกะระยะห่างจากหน้าจอประมาณหนึ่งช่วงแขน

7.แป้นคีบอร์ดควรอยู่ในระดับเดียวกับข้อศอก และใช้เมาส์โดยพักข้อศอกบนที่รองแขน

8.กระพริบตาบ่อยๆ และพักสายตาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ทุกๆ 20 นาที

9.นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และพยายามผ่อนคลายจากความเครียด อย่าหักโหมกับงานมากเกินไป เพราะความเครียดจะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวและเกิดความเมื่อยล้าได้ง่าย

10.ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและความทนทาน ต่อท่าทางที่จะทำให้เกิดความเกร็ง ลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ และข้อต่อต่างๆ นอกจากนี้ยังดีต่อสุขภาพจิต ในด้านผ่อนคลายความเครียดอีกด้วย

การทำกายภาพบำบัด

1.การซักประวัติและแนะนำวิธีปรับพฤติกรรม แนะนำให้ปรับเปลี่ยนท่าทางการนั่ง การนอน และการใช้ชีวิตประจำวัน

2.การใช้เครื่องอัลตราซาวด์ส่องหาตำแหน่งที่บาดเจ็บ จะช่วยให้ทราบตำแหน่งการรักษาที่แม่นยำยิ่งขึ้น และฉีดยาเพื่อบรรเทาอาการ

3.การใช้เครื่องอัลตราซาวด์ให้ความร้อน นิยมใช้เป็นอันดับแรกๆช่วยบรรเทาอาการปวดเกร็งและคลายกล้ามเนื้อ

4.การใช้เครื่องดึงคอ เพื่อช่วยยึดกล้ามเนื้อและข้อต่อ เครื่องนี้สามารถใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการหมอนรองกระดูกคอเสื่อม และหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

5.การใช้แผ่นร้อน มักใช้ควบคู่กับวิธีอื่น ช่วยบรรเทาอาการปวดได้ในระดับหนึ่ง

การรักษาทางเลือก

1.การฝังเข็ม เป็นการฝังเข็มตามหลักการแพทย์แผนจีน  โดยยึดตำแหน่งตามจุดลมปราณ

2.การครอบแก้ว เป็นอีกหนึ่งศาสตร์แพทย์แผนจีน โดยใช้แก้วหรือถ้วยซิลิโคนมาไล่อากาศออกด้วยความร้อน จากนั้นนำมาวางครอบบนผิวหนัง เน้นบริเวณเส้นลมปราณ แก้วจะดูดกล้ามเนื้อจนมีเลือดคลั่ง เชื่อว่าวิธีนี้จะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ลดอาการปวดเมื่อกล้ามเนื้อบริเวณที่แก้วครอบได้

การป้องกันเบื้องต้น

1.สำหรับคนที่ปวดไหล่ จะเลือกเก้าอี้ที่มีที่พักแขน ซึ่งสามารถปรัลระดับความสูงและองศาให้เหมาะกับร่างกายได้ รองรับการปวดจากยกไหล่สูงจากการวางแขนที่ไม่พอดีได้

2.สำหรับคนที่ปวดคอ จะเลือกเก้าอี้อย่างพนักพิงศีรษะที่ช่วยรองรับคอน้ำหนักจากคอโดยพนักพิงศีรษะที่เหมาะสม

3.สำหรับคนที่ปวดหลัง จะเลือกเก้าอี้สุขภาพควรเลือกที่มีพนักพิงหลังช่วงล่างเพื่อรองรับกระดูกสันหลังไม่ให้เกิดการโค้งงอและรับน้ำหนักของร่างกายมากเกินไป

การปรับท่านั่งเพื่อป้องกันอาการออฟฟิศซินโดรม

สำหรับคนทำงานและพนักงานออฟฟิศที่ต้องนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์อย่างน้อยประมาณ 6-8 ชั่วโมงต่อวัน ยากที่จะหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ส่งผลให้เกิดอาการปวดตามคอ บ่า ไหล่ หลัง และเข่า ดังนั้นการปรับเก้าอี้และท่านั่งให้ถูกสุขลักษณะจะช่วยป้องกันความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอาการปวดต่างๆ ได้

1.ควรปรับระดับเก้าอี้ให้พอดีกับส่วนสูงของตัวเอง

ระดับความสูงของเก้าอี้ที่พอดี จะทำให้ไม่ต้องก้มหรือเงยมากเกินไป ทำให้สรีระอยู่ในทิศทางที่ผิดรูปแบบและส่งผลให้เกิดอาการปวด สำหรับการปรับระดับเก้าอี้ควรให้เหมาะพอดีกับส่วนสูง โดยให้เข่าสามารถงอได้ 90 องศา เท้าวางระนาบและทิ้งน้ำหนักได้เท่ากันกับขาทั้งสองข้าง

2.ปรับเลื่อนเบาะรองนั่งให้เข่าทำมุม 90 องศา

นอกจากระดับความสูงแล้ว การปรับเลื่อนเบาะรองนั่งให้พอดีก็สำคัญ ควรปรับให้เบาะรองนั่งมีระยะห่างระหว่างข้อพับเข่ากับเบาะรองนั่งประมาณ 2-3 นิ้ว โดยที่เข่ายังทำมุม 90 องศาอยู่

3.ปรับระดับที่วางแขนให้พอดีกับโต๊ะทำงาน

ที่เท้าแขนก็เป็นองค์ประกอบที่สำคัญไม่น้อยสำหรับเก้าอี้ทำงาน โดยเฉพาะหากคุณต้องนั่งทำงานนานๆ แบบที่ไม่มีที่เท้าแขน ก็อาจจะทำให้คุณเมื่อยได้ โดยที่เท้าแขนก็ควรจะมีระดับที่พอดีกับตัวคุณด้วยเช่นกัน ซึ่งนอกจากที่เท้าแขนจะช่วยให้คุณสะดวกสบายมากขึ้นแล้ว ก็ยังสามารถใช้สำหรับการพยุงตัวเวลาลุกนั่งได้อีกด้วย

4.ปรับเบาะรองศีรษะให้พอดีกับคอ

เบาะรองศีรษะจะช่วยให้ลำคอ และศีรษะอยู่ในท่าตรง ลดอาการเมื่อยล้าจากการนั่งจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ โดยระดับศีรษะ ระดับสายตา ควรพอดีกับระดับจอของคอมพิวเตอร์ เพื่อไม่ให้ก้มหรือเงยคอมากเกินไป

5.ปรับพนักพิงให้รองรับหลังส่วนล่าง

เก้าอี้ควรสามารถปรับพนักพิงให้รองรับหลังส่วนล่างได้ และต้องปรับเอนเมื่อต้องการพักผ่อนระหว่างวัน

6.มีหมอนเสริม

ใครที่นั่งทำงานนานๆ แล้วชอบปวดคอ เราก็ขอแนะนำให้คุณเลือกเก้าอี้ทำงานแบบที่มีหมอนเสริม แถมหมอนเสริมยังช่วยให้สรีระของคุณพอดีกับเก้าอี้ได้ ในกรณีที่เก้าอี้ที่คุณซื้อมาไม่พอดีกับสรีระ หรือเบาะมีความลึกจนเกินไป หมอนเสริมก็จะช่วยหนุนสรีระของคุณให้มีความพอดีมากขึ้นนั่นเอง

เทคนิคการเลือกเก้าอี้ออฟฟิศซินโดรมในการนั่งทำงาน

1.การเลือกทำงานไม่ให้เป็นออฟฟิศซินโดรม ต้องเลือกจากขนาดเบาะรองนั่ง ขนาดที่เหมาะสมคือเมื่อนั่วแล้วเท้าต้องวางสัมผัสพื้นพอดี ไม่ลอย หรือดูง่ายๆคือมีความสูงเท่ากับขาท่อนล่างของผู้นั่งหรือความสูง 18 นิ้วโดยประมาณ

2.การเลือกเก้าอี้ทำงานให้ไม้เป็นออฟฟิศซินโดรม ต้องเลือกจากพนักพิงที่ดีจะต้องมีความสูงไม่น้อยกว่าขอบล่างของสะบัก และต้องมีส่วนโค้งที่รับกับสรีระของหลัง พนักต้องตรง เมื่อพิงแล้วต้องไม่เอนมากเกินไปพนักพิงที่ไม่เหมาะคือสาเหตุสำคัญของอาการปวดหลัง

3.การเลือกเก้าอี้ทำงานให้ไม่เป็นออฟฟิศซินโดรม ต้องเลือกจากที่วางแขนต้องไม่เล็กหรือใหญ่เกินไปจนเกะกะ ความสูงของที่วางแขนก็มีความสำคัญ  เมื่อวางแขนแล้วต้องไม่ทำให้ไหล่ห่อหรือไหล่ยก ที่วางแขนที่ความสูงไม่เหมาะสมคือตัวการของอาการปวดคอและบ่า

วิธีการรักษากลุ่มอาการออฟฟิศซิมโดรม

รักษาด้วยยา
ทำกายภาพบำบัดด้วยเครื่องมือกายภาพบำบัดตามความเหมาะสมของอาการเช่น อัลตร้าซาวด์ เลเซอร์รักษา การกระตุ้นไฟฟ้า และการประคบร้อน การยืดกล้ามเนื้อ เป็นต้น
ฝังเข็ม บรรเทาอาการปวด และเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มสมรรถภาพร่างกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ
การปรับสภาพแวดล้อมการทำงาน ท่าทางการทำงาน และพฤติกรรมการทำงานให้ถูกต้องตามอิริยาบถ

นอกเหนือจากการรักษาที่กล่าวมาแล้วในปัจจุบันมีเทคโนโลยีการรักษาอาการปวดด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย คือ

การรักษาด้วยคลื่นรักษาแบบรวมพลังงาน Focused shockwave therapy
การรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า Peripheral Magnetic Stimulation (PMS)

ซึ่งช่วยรักษาอาการปวดจากออฟฟิศซินโดรมได้อย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ

รู้แบบนี้แล้วก็อย่าลืมเลือก เก้าอี้ออฟฟิศซินโดรม ตามคำแนะนำที่เราได้แนะนำไปข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นการเลือกความสูงที่มีความเหมาะสม การเลือกเบาะที่ไม่นุ่มหรือแข็งจนเกินไป การเลือกเก้าอี้ที่มีที่พักแขน และเลือกเก้าอี้ที่มีหมอนเสริม เพียงเท่านี้เราก็จะได้เก้าอี้ที่เหมาะแก่การทำงาน และสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดหลังปวดคอได้ด้วยเช่นกัน

กลับสู่หน้าหลัก savecyber

เก้าอี้ทำงาน

เก้าอี้ทำงาน เก้าอี้สำนักงาน

 

เก้าอี้ทำงาน เก้าอี้สำนักงาน  ที่ดีไม่ใช่จะนำเรื่องความสวยงาม หรือรูปทรงที่ทันสมัยมาเป็นหลักยึด แต่ควรคำนึงถึงเก้าอี้ที่เหมาะกับสรีระร่างกายมาเป็นลำดับแรก รวมถึงเก้าอี้ดังกล่าวต้องตอบโจทย์การนั่งได้เป็นระยะเวลานานๆ ด้วย เพราะไม่อย่างนั้นอาจนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพกล้ามเนื้อหลังได้

 

เก้าอี้ทำงาน เก้าอี้สำนักงาน ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับพนักงานหลายๆคนในออฟฟิศ เพราะคุณจะต้องนั่งอยู่บน เก้าอี้สำนักงานกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน สิ่งที่สำคัญที่ควรคำนึงในการเลือกเก้าอี้ทำงานสักตัว ไม่ว่าจะเป็น การรองรับสรีระ, ความทนทาน, และความคุ้มค่า ซึ่งไอคอนิคเฟอร์นิเจอร์ได้คัดสรรมาแล้ว เพราะเราผลิตและจัดจำหน่ายเก้าอี้สำนักงานมากว่า 20 ปี ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบในการโอบกระชับสรีระ หรือ วัสดุบุที่นั่งที่ทนทาน ใช้งานได้นาน รองรับน้ำหนักได้ดี  ทั้ง 3 ข้อนี้ ที่ไอคอนิค มีเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าทุกท่าน

 

วีธีการเลือก เก้าอี้ทำงาน เก้าอี้สำนักงาน 

 

เก้าอี้ทำงาน เก้าอี้สำนักงาน มี 3 ระดับ

  1. เก้าอี้ผู้บริหาร พนักพิงจะสูงถึงศีรษะ
  2. เก้าอี้ทำงานระดับกลาง พนักพิงจะสูงประมาณต้นคอ
  3. เก้าอี้ทำงานระดับเตี้ย พนักพิงจะสูงประมาณช่วงไหล่

 

เก้าอี้ทำงาน เก้าอี้สำนักงาน พนักพิงของ เก้าอี้ทำงาน จะมีวัสดุ หุ้มหนัง และ พนักพิงตาข่าย ซึ่งพนักพิงหนังส่วนใหญ่ รูปทรงจะเป็นทางการ เวลาผลิตส่วนใหญ่ขึ้นโครงเป็นชิ้นเดียว กับที่นั่ง ทำให้เวลาเอนเป็นระบบ โยกทั้งตัว ไม่สามารถแยกเอนได้ ส่วนพนักพิง ตาข่ายทรงจะ modern กว่าพนักพิงหนัง การผลิตส่วนใหญ่ พนักพิงจะแยกอิสระ จากที่นั่ง คล้ายเก้าอี้ในโรงหนัง ทำให้เวลาพิงเอนพนักพิง โยกเอนได้มาก เป็นระบบเอนเฉพาะพนักพิง (Backrest Tilting Mechanism) ประกอบกับดีไซน์ ส่วนใหญ่พนักพิง จะโค้งเว้าเข้ากับหลัง ซึ่งลูกค้า ที่เคยนั่งพนักพิงหนังแล้วต้องเอาหมอน มารองพนักพิง มาลองนั่งพนักพิง ตาข่ายจะชอบมาก เพราะไม่ต้องเอาหมอนรอง หลังอีก

 

ในปัจจุบัน เก้าอี้ทำงาน พนักพิงหนัง และเก้าอี้ทำงาน พนักพิงตาข่าย มีความทนทาน พอๆกัน โดยดูจากยอด สินค้าที่เคลม ในแต่ละรุ่น เก้าอี้ทำงานพนักพิง ตาข่ายจะได้เปรียบได้ เรื่องของ ดีไซน์ พนักพิงโค้งเว้ารับกับหลัง ระบบการ พิงเอนที่สบายกว่า

 

  • เก้าอี้ทำงาน เก้าอี้สำนักงาน ที่มีก้อนโยก จะสามารถหมุน ปรับ เอนโยกน้อย โยกมากได้ ตำแหน่ง จะอยู่ใต้เก้าอี้

 

  • ขาเก้าอี้สำนักงาน ไนลอน NYLON ทำมาจาก Polyamide จะเหนียว แกร่งรับน้ำหนัก ได้มาก ทนต่อสารเคมี ทนความร้อน และทนต่อแรง กระแทกได้สูง

 

  • ขาเก้าอี้สำนักงาน อลูมิเนียม จะทนที่สุดใน วัสดุที่ทำขาเก้าอี้ ลักษณะจะไม่เงา ไม่เป็นสารพิษ มีความแข็งแรงกว่า เหล็กมาก ไม่เป็นสนิม

 

  • ขาเก้าอี้สำนักงาน เหล็กชุบ โครเมียม (Chromium) ลักษณะ เงา เป็นสนิมได้ยาก

 

5 วีธีการเลือกซื้อ เก้าอี้ทำงาน เก้าอี้สำนักงาน 

 

1. เลือกเก้าอี้ที่สามารถปรับอิริยาบทได้

ชาวออฟฟิศนั้น ไม่ควรอย่างยิ่ง หากจะเลือกเก้าอี้ทรงสวยสีสัน ถูกใจแต่ไม่สามารถปรับเปลี่ยน อิริยาบทได้ ตั้งตรงแข็งทื่อเรียกว่า ไม่เหมาะเลยถ้าต้องนั่งระยะเวลานานๆ เพราะจะทำให้หมอนรองกระดูกสันหลัง ของคุณเสื่อมสภาพเร็วขึ้น ดังนั้นเก้าอี้ ที่ดีควรมีลักษณะที่สามารถเคลื่อนไหว ปรับเปลี่ยนท่วงท่า ในการนั่งได้ อาจเลือกที่มีลักษณะ ที่แบบที่สามารถหมุนโยก หรือสามารถปรับเอนได้ จึงจะดี

 

2. หันมาคำนึงถึงความสูงบ้าง

โดยเก้าอี้ที่ใช้ ในระบบนั่งทำงานในออฟฟิศ ส่วนใหญ่จะมีขนาดประมาณ 38-43 เซนติเมตร ส่วนวิธีดูความสูง ของเก้าอี้ ว่าเหมาะสำหรับนั่งทำงานหรือไม่ ให้ลองวางมือของคุณเองลง และต้องปรับความสูงของเก้าอี้ ให้สามารถเท้ามือบนโต๊ะ ได้อย่างสบาย เท้าวางแนบกับพื้นไม่ใช่นั่งแล้วขาลอย ซึ่งอาจสังเกตได้จากเวลานั่ง ก็ควรให้ระดับ เข่าสูงกว่าสะโพกแค่เพียงเล็กน้อย

 

3. เบาะวัสดุด้านในสำคัญเหมือนกัน

เบาะนั่งภายใน แน่นอน ว่ามีทั้งฟองน้ำ หรือโฟมหลายรูปแบบ แต่ถ้ามองหาวัสดุ ด้านในเบาะที่ดีที่สุด นั้นเรียกว่า ฟองน้ำ Memory Foam ซึ่งจะมีคุณสมบัติ เหมือนกันกับฟองน้ำที่นิยมใช้ทำเตียง ราคาสูงนั่นเองค่ะ ซึ่งวัสดุดังกล่าว จะสามารถป้องกัน การกดทับ ของเส้นเลือดที่ขาจากการ ที่ชาวออฟฟิศต้องนั่งเป็นระยะเวลานานๆ ได้ ซึ่งจะทำให้เลือดไหล เวียนได้ดี ถึงแม้ว่าจะมีราคาอาจจะ แพงกว่าแบบทั่วไป แต่เพื่อสุขภาพ และสามารถยืดอายุชีวิต คนทำงานได้ยาวๆ ก็ถือว่าคุ้มค่า เหมือนกันค่ะ

 

4. ต้องมีพนักพิง และความลาดที่พอเหมาะด้วย

ส่วนใหญ่แล้ว เก้าทำงาน ต้องมีพนักพิงซึ่งถือว่า ถูกต้องอย่างยิ่งแล้วค่ะ เพราะการนั่งเก้าทำงาน ยาวนานโดยไม่มีพนักพิง จะส่งผลเสีย ต่อกล้ามเนื้อส่วนหลังแน่นอน ซึ่งรูปแบบเก้าอี้ ที่มีพนักพิงที่ดีนั้นควร มีลักษณะเอนไปด้านหลัง เพียงเล็กน้อย คุณอาจวัดจาก เบาะรองนั่งกับพนักพิง ซึ่งควรที่จะอยู่ประมาณ 110 องศา ต่อมา ก็ควรคำนึงอีกอย่างว่า พนักพิงนั้นที่ดีพอนั้น ควรมีความสูงเพียงระดับไหล่ หากต่ำกว่านั้นเล็กน้อย อาจพอได้ แต่ถ้าสูงกว่าไหล่อาจไม่เหมาะกับการนั่งนานๆ เท่าไหร่นะ ที่สำคัญควร ทดลองนั่ง รวมถึงปรับระดับว่า เข้ากับสรีระ หรือไม่ก่อนเลือก

 

5. ตรวจสอบน้ำหนักของเก้าอี้ดูก่อนนะ

เก้าอี้ที่ดีและได้มาตรฐาน จะต้องมีน้ำหนักที่หนัก พอสมควร รวมถึงจะต้องมีฐาน ล้อกว้างกว่าลำตัวคุณด้วย เนื่องจากเวลาที่คุณ ถ่ายเทน้ำหนักไปด้านหลัง จะได้ไม่หงายเงิบ! เก้าอี้ที่ได้มาตรฐาน และดีที่สุดจะต้อง มีความแข็งแรง เวลาเลือกซื้อมา ใช้นั่งทำงานคุณจำเป็นต้องทดสอบด้วย ตัวเองเลย หลักง่ายๆ คือถ้าทดสอบนั่ง ให้เอนหลังแล้วเก้าอี้ ที่ควรเลือกจะไม่ทำให้หงายหลัง เก้าอี้ที่ได้มาตรฐาน คือจริงๆ คุณจะรู้สึก ได้ว่าเวลาเอนตัวสุดแล้ว มันจะเหมือนกับว่า คุณเกือบจะนอนได้เลย แบบนี้ถือว่าดี เพราะมีความปลอดภัย อีกด้วย

 

มั่นใจในคุณภาพกับเรา ไอคอนิคเฟอร์นิเจอร์

 

บริษัท ไอคอนิคเฟอร์นิเจอร์ จำกัดเป็นผู้ผลิต และจัดจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ สำนักงาน ด้วยทีมงานที่มี ประสบการณ์มากกว่า 30 ปีในวงการเฟอร์นิเจอร์ ทำให้มีสินค้ามากมาย และหลากหลายประเภท เพื่อตอบสนองต่อความต้องการ ของผู้บริโภคปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น เก้าอี้สำนักงาน โต๊ะเอนกประสงค์ โต๊ะทำงาน ตู้เอกสาร และในปัจจุบันไอคอนิค เฟอร์นิเจอร์ ยังได้ขยายประเภทสินค้า เพื่อรองรับความต้องการของ ลูกค้าอันได้แก่ เฟอร์นิเจอร์ ภายในบ้าน และเฟอร์นิเจอร์ห้องนอน

 

กว่า 30 ปี ในธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ สำนักงาน เรามีจุดยืนที่ชัดเจน และให้ความสำคัญ กับความแข็งแรง และทนทานของสินค้า ดังนั้น เราจึงเลือกใช้วัตถุดิบ ที่มีคุณภาพ และคุณสมบัติที่สูงกว่า ท้องตลาดทั่วไป เราจึงกล้ารับประกันสินค้า จากไอคอนิคเฟอร์นิเจอร์ ว่าใช้งานได้จริง และมีความทนทาน ต่อการใช้งานของลูกค้า ในชีวิตประจำวัน

 

จัดส่งฟรี กทม.และปริมณฑล

บริการจัดส่งภายใน 7-10 วัน*

 

99% ของลูกค้าพึงพอใจในสินค้าและบริการ

จากประสบการณ์ งานขายที่เราผ่านมาทั้งหมด เราพบว่า 99% ของลูกค้าเราทั้งหมด พึงพอใจในสินค้าและการบริการของเรา

 

ทีมงานประสบการณ์มากกว่า 30 ปี 

บริหารด้วยทีมงานที่มีประสบการณ์ในวงการเฟอร์นิเจอร์สำนักงานมากกว่า 30 ปี

 

ราคาที่ “ใช่”

ไอคอนิคเฟอร์นิเจอร์ เป็นผู้ผลิตโดยตรง จึงทำให้คุณพบราคาที่ “ใช่” มากกว่าที่อื่น

 

ติดต่อสั่งซื้อสินค้าได้ที่ :

 

บริษัท ไอคอนิค เฟอร์นิเจอร์ จำกัด

14/8 หมู่ 5 ถ.บ้านกล้วย-ไทรน้อย

ต.พิมลราช อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี 11110

โทร. 02-9234794, 02-9234796

โทรสาร 02-9234795

E-Mail : admin@iconic-office.com

หรือ Line ID: @iconic-office

 

 

กลับสู่หน้าหลัก https://savecyber.com