หนอนกระทู้ผัก
เชื้อบีที หนอนกระทู้ผัก ผักเป็นแมลงที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งต่อการปลูกผักในประเทศไทย ตัวหนอนเริ่มทำลายผักตั้งแต่เริ่มฟักออกมาจะเริ่มทำลายรุนแรงมากสามารถกัดกินใบ ก้าน ดอก หัวได้ทุกส่วน ทำความเสียหายให้กับพืชผักมาก เนื่องจากเป็นหนอนที่มีขนาดใหญ่และแพร่ระบาดได้รวดเร็วตลอดทั้งปี ลักษณะการทำลาย หนอนเมื่อฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ จะอยู่รวมกันเป็น กลุ่มและแทะกินเฉพาะผิวใบพืชเหลือไว้แต่เส้นใบ เมื่อผิว ใบแห้ง ใบแห้งแล้วจะเห็นเป็นสีขาว ๆ เมื่อหนอนโตขึ้นอยู่ในวัยที่ 2-3 จะกระจายออกกัดกินใบพืชทั่วไป
หนอนตัวโตกินจุ ปริมาณมากและรวดเร็วทำให้ใบขาดเป็นรู ๆ ทั่วต้น หนอน เคลื่อนไหวช้า ในเวลากลางวันอากาศร้อน หนอนจะหลบ ลงดินหาที่ซ่อนตัว รูปร่างลักษณะชีวประวัติ (Spodoptera litura (Fabricius)) หนอนกระทู้ผักมีลำตัวอ้วนป้อม มีจุดสีดำใหญ่ ตรงปล้องที่ 3
เชื้อบีที แม่ผีเสื้อวางไข่เป็นกลุ่มใต้ใบจำนวนนับร้อยฟอง ไข่ปกคลุมด้วยขนสีฟางข้าว ระยะไข่ 3-4 วัน หนอนที่ เกิดใหม่จะอยู่รวมกลุ่มแทะกินผิวใบพืช และหนอนจะเริ่มแยกย้ายไปต้นอื่น ๆ หลังจากพ้นวัยที่ 2 หนอนโตเต็มที่มี ขนาด 3-4 เซนติเมตร และเคลื่อนไหวช้า หนอนมีการเจริญเติบโต 5 ระยะ ระยะหนอน 10-14 วัน หนอนเข้า ดักแด้ในดิน ดักแด้มีสีน้ าตาลเข้มยาวประมาณ 1.5 ซม. ระยะดักแด้ 7-10 วัน ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อขนาดกลาง เมื่อ กางปีกกว้าง 3-3.5 เซนติเมตร ปีกสีน้ำตาล ปีกคู่หน้ามีเส้นสีเหลืองพาดหลายเส้น
การป้องกันและกำจัด
1. เก็บกลุ่มไข่และหนอนทำลาย วิธีนี้พบว่าได้ผลดีและลดการระบาดของหนอนลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. การใช้เชื้อจุลินทรีย์ บาซิลลัส ทูริงเยนซิส ตรา บีที -โกลด์ (BT-GOLD) ผสมสารจับใบอัตราตามฉลาก ฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็น เมื่อพบ หนอนเริ่มระบาด อัตรา 60 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ผสมสารจับใบ อัตราตามฉลาก ฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็นทุก 5 วันครั้ง เมื่อพบหนอนระบาด
ไตรโคเดอร์ม่า เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า กำจัดโรคพืช
เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าคืออะไร
เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า คือเชื้อราชนิดหนึ่งที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากอินทรีย์วัตถุเป็นอาหารโดยไม่มีอันตราย
กับพืช คน สัตว์และแมลง เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า หลายชนิดมีคุณสมบัติในการควบคุมและทำลายเชื้อราสาเหตุโรคพืช
ทางดิน จึงทำให้พืชมีระบบรากที่สมบูรณ์ แข็งแรง หาอาหารได้มากต้นพืชจึงสมบูรณ์ให้ผลผลิตสูง และคุณภาพดี
กลไกในการควบคุมเชื้อราโรคพืช
- เจริญแข่งขัน แก่งแย่งอาหาร น้ำ แร่ธาตุ อากาศ และแหล่งที่อยู่กับเชื้อราสาเหตุโรคพืช จึงทำให้เชื้อโรคลดปริมาณ จึงทำให้เชื้อโรคลดปริมาณลงอย่างรวดเร็ว เจริญแข่งขัน แก่งแย่งอาหาร น้ำ แร่ธาตุ อากาศ และแหล่งที่อยู่กับเชื้อราสาเหตุโรคพืช จึงทำให้เชื้อโรคลดปริมาณ จึงทำให้เชื้อโรคลดปริมาณลงอย่างรวดเร็ว
- เป็นปรสิต สร้างเส้นใยพันรัดและแทงดูดกินน้ำเลี้ยง จากเชื้อราสาเหตุโรคพืช ทำให้เส้นใยสลายลดการขยายลงอย่างรวดเร็ว
- สร้างสารพิษ น้ำย่อย ไปทำลายเชื้อราโรคพืชทำให้เส้นใย และส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อรา โรคพืชเหี่ยวสลายและตายในที่สุด สร้างสารพิษ น้ำย่อย ไปทำลายเชื้อราโรคพืชทำให้เส้นใย และส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อรา โรคพืชเหี่ยวสลาย
เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืช ดังนี้
ไตรโคเดอร์ม่าควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืชทางดินได้มากกว่า 10 ชนิด ที่สำคัญได้แก่
- เชื้อราพิเทียม สาเหตุโรคกล้าเน่า เมล็ดเน่า เน่ายุบ และเน่าคอดิน
- เชื้อราไฟทอปธอร่า สาเหตุโรครากเน่าโคนเน่า โรคเลทไบลท์ เน่ายุบ และเน่าคอดิน
- เชื้อราสเคลอโรเทียม สาเหตุโรคโคนเน่า โรครากเน่า (ราเมล็ดผักกาดขาว) เน่ายุบ และเน่าคอดิน
- เชื้อราไรช็อคดทเนีย สาเหตุโรคกล้าเน่า โคนเน่าขาว รากเน่าและเน่าคอดิน
- เชื้อราฟิวซาเรียม สาเหตุโรคเหี่ยวและเน่าคอดิน
วิธีการนำเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าไปใช้
1.การคลุกเมล็ด ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า (เชื้อสด) 1-2 ช้อนแกง (10-20 กรัม) ต่อเมล็ดพืช 1 กก. โดยคลุกเคล้าให้เข้ากันในถุงอาจเติมน้ำเล็กน้อยเพื่อให้สปอร์ของเชื้อราเคลือบติดบนผิวของเมล็ดพืชได้ดียิ่งขึ้น
2.การรองก้นหลุมและการหว่าน ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า 1 กก. บวกลำละเอียด 5 กก. บวกปุ๋ยหมัก 40 กก. รองก้นหลุมปลูกในพืชผัก พืชสวน 10-20 กรัม/ต้น หว่านในแปลงปลูก 50-100 กรัม/ตารางเมตร และในพืชสวนหว่านใต้ทรงพุ่มในอัตรา 5 กก. บวกปุ๋ยหมัก 40 กก. รองก้นหลุม3-5 กก./ต้น ไปทำลายเชื้อราโรคพืชทำให้เส้นใย และส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อรา โรคพืชเหี่ยวสลาย