เก้าอี้ห้องประชุม ราคาถูก
09มี.ค.

เก้าอี้ห้องประชุม ราคาถูก

เก้าอี้ห้องประชุม ราคาถูก – ซึ่งเก้าอี้ห้องประชุมก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้ในสำนักงานสำนักงาน สิ่งสำคัญที่ทีมจัดซื้อหรือเจ้าของบริษัทจะคำนึงถึง คงจะหนีไม่พ้นเรื่องคุณภาพและมาตรฐานรับรอง เพื่อให้มั่นใจได้ว่า เฟอร์นิเจอร์สำนักงานที่เลือกมา จะเป็นของที่ทนทาน ใช้งานได้อย่างคุ้มค่า ดังนั้น เฟอร์นิเจอร์สำนักงานและ เก้าอี้ห้องประชุม จะต้องเลือกซื้อที่คุณภาพดี

รูปแบบของ เก้าอี้ห้องประชุม ราคาถูก

1.เก้าอี้โพลี

2.เก้าอี้สัมมนา

3.เก้าอี้หัวโค้ง

4.เก้าอี้ทรงราชา

รูปแบบการจัดห้องประชุม

1. Theater

        การจัดห้องประชุมแบบ Theater คล้ายกับการจัดแบบโรงละครหรือโรงหนัง เป็นการจัดห้องประชุมแบบพื้นฐานใช้ในงานสัมมนา งานจัดอบรม หรือแม้แต่งานแต่งงานประเภทงานหมั้น งานพิธี การจัดห้องประชุมแบบนี้เหมาะสำหรับงานฝึกอบรมแบบบรรยายที่เน้นเนื้อหาที่มีผู้เข้าฟังมาก หรืองานแถลงข่าว  หรืองานหมั้น งานที่ต้องการให้ผู้ร่วมงานสนใจเพียงจุดเดียว ไม่มีกิจกรรมอื่นใดนอกจากการฟังผู้พูดบนเวที
ข้อดีของการจัดห้องประชุมแบบ Theater คือ ผู้อบรมหรือผู้จัดงานจะเป็นจุดสนใจเพียงจุดเดียว และยังเป็นการใช้พื้นที่ในห้องประชุมได้อย่างคุ้มค่า สามารถวางเก้าอี้ได้มากกว่าการจัดแบบอื่นๆ นอกจากนั้นการจัดแบบ Theater ยังมีลูกเล่นให้ผู้จัดงานเลือกอีก นั่นก็คือ การไต่ระดับของพื้นขึ้นไปนั้นเอง ถ้าทุกคนนึกไม่ออก ให้ลองนึกถึง โรงหนัง การไต่ระดับพื้นที่พี่กล้วยกำลังพูดคือแบบนั้นเลยค้า แต่หากผู้เข้าอบรมมีจำนวนมาก อาจจะต้องเลือกสถานที่ ที่รองรับ ไม่ให้เล็กหรือพอดีเกินไปจนทำให้ผู้เข้าอบรบรู้สึกว่าอึดอัด

2. Classroom

เห็นได้ว่าการจัดห้องประชุมแบบ Classroom คล้ายกับการจัดห้องประชุมแบบ Theater มาก แตกต่างกันที่ แบบ Classroom มีโต๊ะเพิ่มขึ้นมา และโดยส่วนมากจะมีปากกาพร้อมกับกระดาษ ให้ผู้เข้าอบรมได้จดโน๊ตบันทึก พร้อมทั้งมีน้ำดื่มและลูกอมเอาไว้ให้ผู้เข้าอบรมได้กินแก้ง่วงอีกด้วย ข้อดีของการจัดห้องประชุมแบบ Classroom ก็คือ ผู้อบรมจะเป็นจุดสนใจเพียงคนเดียว เหมาะสำหรับงานสัมมนาที่มีการจดบันทึกข้อมูล หรือการใช้คอมพิวเตอร์/แล็ปท๊อป ประกอบการอบรม แต่การจัดโต๊ะแบบ Classroom อาจจะต้องใช้พื้นที่มากพอสมควรเทียบกับแบบ Theater

 

3. Boardroom

การจัดห้องแบบ Boardroom หรือที่ใครหลาย ๆ คนอาจจะเรียกว่า การจัดแบบ Conference เป็นการจัดห้องประชุมที่เหมาะสำหรับการประชุมที่มีการระดมความคิด ถกเถียง หรือเน้นให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการประชุม ส่วนใหญ่แล้วการจัดโต๊ะประชุมแบบนี้มักพบเห็นได้ทั่วไปตามบริษัทต่าง ๆ โดยจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมไม่มากนัก ส่วนมากไม่เกิน 15-20 คนตามโรงแรมต่าง ๆ มักจะมีห้องประชุมขนาดเล็กสำหรับจัด Boardroom meeting ซึ่งลูกค้ามักเป็นผู้บริหารองค์กรหรือนักธุรกิจที่ต้องการนัดคุยแบบส่วนตัวและเป็นทางการหน่อย ข้อดีของการจัดโต๊ะแบบนี้คือ ทุกคนจะรู้สึกว่ามีส่วนร่วมในการประชุมมากยิ่งขึ้น

 

4. U-Shape

การจัดแบบ  U-shape เป็นการจัดโต๊ะคล้ายรูปตัว U เหมาะสำหรับผู้บรรยายที่อยากจะใกล้ชิดกับผู้ฟัง แบบ ถาม-ตอบ เพราะการจัดโต๊ะแบบลักษณะตัว U ผู้บรรยายสามารถเดินเข้าไปหาผู้ฟังและสอบถามพูดคุยได้อย่างทั่วถึง การจัดโต๊ะแบบ U–Shape เหมาะสำหรับการจัดประชุมแบบกลุ่มคนขนาดใหญ่ สามารถซ้อนโต๊ะได้อย่างน้อย 2 ชั้น และสามารถจุคนได้มากกว่าแบบ U-Shape ชั้นเดียว แถมยังมีพื้นที่ตรงกลางไว้สามารถทำกิจกรรมได้อีกด้วย แต่พี่กล้วยขอแนะนำ การจัดโต๊ะแบบ U-Shape  ไม่ควรซ้อนเกิน 2-3 ชั้นเพราะผู้บรรยายอาจจะดูแลไม่ทั่วถึง และแถวที่ซ้อนด้านหลังอาจจะไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร

 

5. Banquet

การจัดโต๊ะแบบ Banquet หรือภาษาบ้าน ๆ เรียกง่าย ๆ ก็คือ โต๊ะจีนนั่นเอง ซึ่งเป็นการจัดแบบการใช้โต๊ะกลมแล้วคลุมผ้าสีต่างๆ การจัดโต๊ะแบบนี้มักพบในงานจัดเลี้ยง งานสังสรรค์หรือแม้แต่งานแต่งงานที่นิยมมาก ข้อดีของการจัดโต๊ะแบบ Banquet คือได้พูดคุย สังสรรค์กันอย่างสนุกสนานเต็มที่ และข้อเสียคือความยากในการจัดคนลงโต๊ะ เพราะส่วนใหญ่แล้วการจัดโต๊ะจีน มักมีการระบุแขกที่นั่งโต๊ะอย่างชัดเจน ถ้าถึงวันงานแล้ว แขกยกเลิกหรือไม่มาตามนัดหมาย มันก็จะกลายเป็นโต๊ะว่างทันที แต่พี่กล้วยจะบอกว่า การจัดโต๊ะกลม ๆ แบบนี้ไม่ควรจัดเกินโต๊ะละ 8-10 คน เพราะผู้ร่วมงานอาจจะรู้สึกอึดอัดได้ งานอบรมสัมมนาก็มีการจัดแบบ Banquet อยู่บ้าง ในกรณีที่ต้องการให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีการจับกลุ่มเพื่อสนทนาหรือทำเวิร์คชอป เป็นต้น

 

6. Cocktail

การจัดแบบ Cocktail ถือได้ว่าได้รับความนิยมอีกเช่นกัน เพราะมันง่ายและสะดวกสบายสำหรับผู้จัดงานแต่ผู้ร่วมงานอาจจะมีเมื่อยนิดหน่อย แต่ก็ไม่ใช่ปัญ หาใหญ่นะคะ เพราะในเมื่อแต่งตัวสวย ๆ หล่อ ๆ มางาน ต้องใช้ชุดให้คุ้ม ในเมื่อที่ผู้จัดงานไม่มีโต๊ะให้ เราก็เดินวนไปค่ะ เดินให้พอกินให้อิ่มไปเลย แล้วยืนสวย ๆ อย่าได้แคร์ค่ะ ข้อดีของการจัดแบบ Cocktail คือ สามารถจุคนได้มากกว่าแบบอื่น ๆ การจัดแบบ Cocktail มักจะเหมาะกับการจัดปาร์ตี้ริมสระ ชิล ๆ เก๋ ๆ

 

  มารยาทในการใช้ห้องประชุม
1. มาก่อนเวลา อันนี้ถือเป็นมารยาทการใช้ห้องประชุมหรือสัมมนาอย่างหนึ่ง ซึ่งคุณควรจะมาก่อนเวลาเริ่มประชุม เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าห้องประชุม ซึ่งคุณจะมีเวลาทำธุระส่วนตัว ให้เรียบร้อย และการมาก่อนเวลา หรือเข้าร่วมประชุมตามเวลานั้น จะทำให้คุณไม่พลาดเนื้อหาสำคัญๆ ในการพรีเซนต์อีกด้วย
2. ห้ามส่งเสียงดัง การประชุม ไม่ว่าจะเป็นที่ใดก็ตาม ทุกคนควรให้เกียรติ และเป็นผู้ฟังที่ดี สนใจกับเนื้อหาการประชุม หรือสัมมนา ซึ่งถือเป็นมารยาทอย่างหนึ่งที่ทุกคนควรมี และการงดใช้เสียงดังยังเป็นการรักษาบรรยากาศ กับผู้ร่วมประชุมท่านอื่น
3. ปิดเครื่องมือสื่อสาร ก่อนเข้าร่วมประชุม ควรปิดเครื่องมือสื่อสาร หรือปิดเสียง เปิดสั่น เพื่อไม่เป็นการก่อความรำคาญ และทำลายบรรยากาศการประชุม หรือสัมมนา
4. ตั้งใจฟังในสิ่งที่พูดนำเสนอ ทุกๆท่านที่เข้าร่วมประชุม ควรตั้งใจฟังเนื้อหา ที่ผู้นำเสนอตั้งใจเตรียมมา และเก็บเกี่ยวความรู้ หรือเนื้อหาการประชุมให้ได้มากที่สุด เพื่อต่อยอดการนำข้อมูลไปใช้ต่อ หรือร่วมแก้ปัญหา ในหัวข้อที่นำมาเข้าประชุม
5. เก็บเก้าอี้ให้เรียบร้อยก่อนออกจากห้องประชุม อันนี้ถือเป็นเกล็ดเล็กๆน้อยๆ ที่จะทำให้ทุกๆคนมองคุณดียิ่งขึ้น เสริมสร้างภาพลักษณ์ และบุคลิกให้ดูน่าเคารพ ด้วยสิ่งเล็กๆที่คุณทำ เปรียบเสมือน คุณให้เกียรติ และเป็นคนเรียบร้อย ที่ใส่ในใจรายละเอียดเล็กๆ
6. มารยาทในการถามคำถาม ช่วงการถามคำถาม หรือซักถามข้อสงสัย นั้น ต้องดูจังหวะให้ดี เพื่อไม่ให้เป็นการขัดจังหวะการนำเสนอ ของผู้นำเสนอ อาจจะถามในช่วง ต่างๆได้ เช่น ยกมือถามคำถาม ,รอให้จบหัวข้อนั้นๆก่อน รอให้จบการนำเสนอ หรือผู้นำเสนอ เปิดโอกาสให้ถามคำถาม เพื่อรักษามารยาท และบรรยากาศการประชุม
 การดูแลรักษาเก้าอี้ห้องประชุม
  1. หลีกเลี่ยงแดดส่องบนเก้าอี้ตาข่ายเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันไม่ให้ผ้า หรือตาข่ายซีดจาง และอาจทำให้ฟองน้ำและเนื้อผ้าเสื่อมสภาพก่อนเวลาอันควร และไม่ควรวางเก้าอี้ตาข่ายไว้ในที่ที่มีความชื้นสูง เพราะความชื่นอาจทำให้เกิดราขึ้นที่เนื้อผ้าได้
  1. หากทำน้ำหรือเครื่องดื่มหกเลาะเก้าอี้ให้เช็ดด้วยผ้าสะอาดหรือฟองน้ำทันที และถ้าเป็นคราบให้เช็ดด้วยน้ำสบู่เจือจาง แล้วเช็ดด้วยผ้าหมาด ๆ แล้วผึ่งลมให้แห้ง
  1. ระมัดระวังของมีคม หรืออุปกรณ์สำนักงานที่มีปลายแหลม อย่างเช่นปากกา หรือ คัตเตอร์ โดนผ้าเบาะ หรือผ้าตาข่าย
    อาจทำให้ผ้าฉีกขาดเกิดความเสียหายได้
  1. ทำความสะอาดเก้าอี้อย่างสม่ำเสมอ โดยใช้ผ้าสะอาดทำความสะอาด เช็ดฝุ่นที่เกาะอยู่ตามเก้าอี้ นอกจากนี้ควรใช้เครื่องดูดฝุ่นดูดตามซอกต่างๆ ด้วย และหลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาเคมีในการทำความสะอาด เพราะอาจจะทำให้เก้าอี้เกิดความเสียหายได้

กลับสู่หน้าหลัก – savecyber